สถาปัตยกรรมของระบบปฏิบัติการ Android

Mobile Application Developing- Android, iOS, Window Phone สอนเขียนโปรแกรมบนมือถือ ระบบปฏิบัติการต่าง แอนดรอยด์ ไอโอเอส วินโดโฟน สอนเขียนโปรแกรมบนมือถือ

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

ภาพประจำตัวสมาชิก
Ik Kat
PHP Super Member
PHP Super Member
โพสต์: 291
ลงทะเบียนเมื่อ: 26/06/2017 2:32 pm

สถาปัตยกรรมของระบบปฏิบัติการ Android

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย Ik Kat »

ก่อนที่เราจะเขียน Android เราต้องรู้ถึงความเป็นมา ความหมายของ Android OS คืออะไร และสถาปัตยกรรมของ Android เสียก่อน เพื่อสร้างความเข้าใจก่อนการลงมือปฏิบัติจริง

สถาปัตยกรรมของ Android จะแบ่งออกเป็น 5 ส่วนดังนี้
1. Linux Kernel คือ ส่วนที่เป็นแกนหลักของแอนดรอยด์นั้น ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกสร้างขึ้นโดย Linus Torvalds ในปี ค.ศ. 1991 ในส่วนของ Linux Kernel จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ และทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ของเครื่อง เช่น การจัดการหน่วยความจำ การจัดการโพรเซส

แม้ว่าผู้ใช้ และผู้พัฒนาแอนดรอยด์จะไม่เห็นว่ามีลีนุกซ์อยู่ในเครื่อง หรือไม่ได้เรียกไปยังลีนุกซ์โดยตรงนั่นเอง แต่เเนื่องจากโปรแกรม utility บางตัวที่ Android SDK เตรียมมาให้ จะติดต่อกับลินุกซ์ที่อยู่ในอุปกรณ์ จึงทำให้เราในฐานะผู้พัฒนาจึงต้องทราบเรื่องนี้

2. Library ทั้งหมดจะเขียนด้วยภาษา C หรือ C++ และถูกคอมไฟล์มาสำหรับฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์ในแค่ล่ะรุ่น

แบ่ง Library ที่น่าสนใจได้ดังนี้
- Surface Manager คือ การจัดการส่วนแสดงผล ที่มีความสามารถในการผสมกราฟฟิก ทั้ง 2 และ 3 มิติ เข้าด้วยกัน
- Media Libraries คือ ส่วนที่จัดเตรียมการให้บริการในการเล่นและบันทึกเสียง วิดีโอ และรูปภาพ
- SQLite คือ ฐานข้อมูลขนาดเล็กที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของแอพพลิเคชั่นไว้
- WebKit คือ ส่วนที่ใช้ในการแสดงเนื้อหาเว็บเพจ

3. Android Runtime เป็นส่วนที่ทำงานอยู่ใน Linux Kernel ซึ่งประกอบด้วย Core Library สำหรับจาวา และ Dalvik VM

4. Application Framework คือ ส่วนที่ใช้พัฒนาแอพพลิเคชั่น ซึ่งประกอบด้วยคอมโพเนนต์พื้นฐานต่าง ๆ ดังนี้
- Activity Manager คือ ตัวควบคุม Lifecycle ของแอพพลิเคชั่น
- Content Providers คือ ส่วนที่ทำให้แอพพลิเคชั่นสามารถแชร์ข้อมูลกันได้
- View System คือ ส่วนที่ใช้ในการสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้
- Resource Manager คือ ตัวจัดการรีซอร์ส
- Notification Manager คือ ส่วนที่ทำให้แอพพลิเคชั่นสามารถแสดงข้อความแจ้งเตือนผู้ใช้ออกมาที่แถบสถานะได้

5. Applications คือ แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ทั้งที่ติดตั้งมากับเครื่องอยู่แล้ว รวมทั้งแอพพลิเคชั่นที่เราสร้างขึ้นเอง ซึ่งแอพพลิเคชั่นทั้งหมดในส่วนนี้จะถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาาวา

เมื่อเรารู้พื้นฐานของ Android แล้ว ก็สามารถดูวิธีการติดตั้ง Android และวิธีการพัฒนา Androidกันได้เลย
  • Similar Topics
    ตอบกลับ
    แสดง
    โพสต์ล่าสุด

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 59