เทคนิคการปรับเว็บไซต์แบบ SEO Onpage กับเครื่องมือตรวจสอบ Onpage SEO Doctor

HTML Basic
สำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์มือใหม่ HTML , CSS และการใช้ Tools ต่างๆ ในการพัฒนาเว็บไซต์

Moderator: mindphp

M032
PHP VIP Members
PHP VIP Members
โพสต์: 1983
ลงทะเบียนเมื่อ: 11/01/2016 9:55 am
ติดต่อ:

เทคนิคการปรับเว็บไซต์แบบ SEO Onpage กับเครื่องมือตรวจสอบ Onpage SEO Doctor

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย M032 »

เทคนิคการปรับเว็บไซต์แบบ SEO Onpage (เอสอีโอ ออนเพจ) กับเครื่องมือตรวจสอบ Onpage (ออนเพจ) SEO Doctor (เอสอีโอ ด๊อกเตอร์)

SEO Onpage (เอสอีโอ ออนเพจ) คืออะไร ?
SEO Onpage (เอสอีโอ ออนเพจ) คือ การปรับโครงสร้างของ Website (เว็บไซต์) ให้เหมาะแก่การเก็บข้อมูลของ Search Engine (เสิร์ชเอนจิน) ต่างๆ เช่น ชื่อโดเมน หรือ Domain name (โดเมนเนม) , เนื้อหาภายในเว็บไซต์ , คำอธิบายหน้าเว็บ, การใส่ Tag (แท๊ก), รูปภาพ, Keywords(คีย์เวิร์ด), Link (ลิ้งค์) ภายในเว็บไซต์, ระบบโครงสร้างเว็บทั้งหมดโดยการปรับแต่งทั้งหมดของ Onpage ส่วนใหญ่จะเน้นไป ที่คีย์เวิร์ด ตำแหน่งต่างๆของคีย์เวิร์ด อย่าง Title(ไตเติ้ล), Description(เดสคลิปชั่น) และ Tag (แท๊ก) เป็นต้น ปรับเพื่อให้ได้อันดับที่ดีขึ้นของ Search Engine(เสิร์ชเอนจิน) อย่าง Google (กูเกิ้ล) นั่นเอง โดย SEO Onpage (เอสอีโอ ออนเพจ) เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการทำ SEO (เอสอีโอ) เท่านั้น
seo-docter.png
seo-docter.png (35.69 KiB) Viewed 1309 times
SEO Doctor (เอสอีโอ ด๊อกเตอร์) คืออะไร?
SEO Doctor เป็นเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์หน้าเว็บไซต์ อย่างรวดเร็วสำหรับ Onpage (ออนเพจ)ว่าหน้านั้นขาดอะไรไปบ้าง โดยเครื่องมือตัวนี้สามารถบอก คะแนนของแต่ละหน้าได้ด้วยว่ามีคุณภาพแค่ไหน เพียงแค่คลิก ไม่ต้อง View Source Code (วิว ซอร์ส โค้ด)ให้ยุ่งยาก

SEO Score (เอสอีโอสกอร์) คือคะแนนในการทำ SEO Onpage (เอสอีโอ ออนเพจ) ของเว็บไซต์ โดยจะมีคะแนนเต็มเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ 100% หรือสามารถตรวจสอบได้จากสัญลักษณ์รูปธงก็ได้ โดยจะแบ่งออกเป็น 4 สถานะ ดังนี้
- ธงสีเขียว คือ SEO Onpage (เอสอีโอ ออนเพจ) ทุกอย่างสมบูรณ์แบบได้ 100 คะแนนเต็ม
- ธงสีเหลือง คือ มีส่วนที่ต้องปรับปรุง ที่ควรแก้ไขบ้างเล็กน้อยบางจุด
- ธงสีแดง คือ ต้องปรับปรุงแก้ไข
- Icon - คือ หน้าหรือ Page (เพจ) ยังไม่ถูก Index (อินเด็ก) จึงไม่มีข้อมูล

หลักเกณฑ์ในการคิดคะแนนของ SEO Doctor
SEO Doctor (เอสอีโอ ด๊อกเตอร์) จะเช็คว่าส่วน ต่างๆ ของเว็บไซต์ของเรามีองค์ประกอบสำคัญที่ SEO Onpage (เอสอีโอ ออนเพจ)ควรมีหรือไม่ และ SEO Doctor (เอสอีโอ ด๊อกเตอร์) จะรวมคะแนนมาให้เรา โดยจะบอกว่าส่วนไหนที่เราขาดบ้าง โดย หลักเกณฑ์ในการคิดคะแนนของ SEO Doctor (เอสอีโอ ด๊อกเตอร์) มี 10 ข้อ ด้วยกัน ดังนี้

1.Page Indexable หรือ หน้าจัดทำดัชนี
Page Indexable (เพจ อินเด็กอะเบิ้ล)เป็นการใช้ SEO Doctor (เอสอีโอ ด๊อกเตอร์) ในการตรวจสอบว่าหน้า Page (เพจ) ได้รับการ index (อินเด็ก) แล้วหรือยัง ปกติในบางครั้งในตัว script (สคริป) หรือ template (เทมเพลต) ต่างๆที่โหลดมาฟรี จะมีการใส่ code ให้ page ไม่ index หรือ ไม่ทำอันดับ สำหรับตอนพัฒนา

2.Meta Description (เมต้า เดสคริปชั่น) หรือ คำอธิบายเนื้อหา
Meta Description (เมต้า เดสคริปชั่น) เป็นการตรวจสอบว่ามีการใส่ Meta Description (เมต้า เดสคริปชั่น) หรือ คำอธิบายเนื้อหาแล้วหรือไม่
โดยจะเป็นการอธิบายเนื้อหาของเว็บไซต์หรือเนื้อหาของบทความนั้นๆแบบสั้นๆ หากอยากได้ผลดี ต้องเขียนให้ดีเพื่อให้คนที่ Search (เสิร์ช) จาก google (กูเกิ้ล) อ่านแล้วอยากคลิกเข้ามา และ ต้องมี keyword (คีย์เวิร์ด) ผสมอยู่ด้วย

3.H1 (เอช หนึ่ง)and (แอนด์) H2 (เอช สอง) tags (แท๊ก)
H1 (เอช หนึ่ง)and (แอนด์) H2 (เอช สอง) tags (แท๊ก) เป็นการตวรสอบว่ามีการใช้ คำสั่ง H1(เอช หนึ่ง) และ H2(เอช สอง) แล้วหรือไม่
H1 tag (เอชหนึ่ง แท๊ก)ทุกเว็บต้องมี h1 (เอช หนึ่ง)เพื่อใส่หัวข้อสำคัญที่สุดของเว็บไซต์ โดยหนึ่งหน้าเพจ ห้ามมี h1 (เอช หนึ่ง)มากกว่า 1 จุด
H2 tag (เอชสอง แท๊ก)ทุกเว็บต้องมี h2 (เอช สอง) หรือหัวข้อรองจาก h1(เอช หนึ่ง)จะนิยมใส่เป็นหัวข้อส่วนต่างๆในเว็บ สามารถมีได้มากกว่าหนึ่งจุด

4.ALT Image Tag (เอแอลที อิมเมจ แท๊ก)
ALT Image Tag (เอแอลที อิมเมจ แท๊ก) คือการตรวจสอบคำอธิบายรูปภาพในหน้า Page (เพจ) นั้นๆ ว่ามีการใส่แล้วหรือไม่

5.SEO Friendly URLs (เอสอีโอ เฟรนลี่ ยูอาร์แอล)
SEO Friendly URLs (เอสอีโอ เฟรนลี่ ยูอาร์แอล) เป็นการตรวจสอบว่า URL (ยูอาร์แอล) ของหน้า Page (เพจ)นั้นๆ มีการใช้ URL (ยูอาร์แอล) ที่รองรับ SEO (เอสอีโอ) หรือไม่ หรือก็คือการมี Keyword (คีย์เวิร์ด) ผสมอยู่ใน URL (ยูอาร์แอล) นั่นเอง URL (ยูอาร์แอล) เป็นประโยชน์ในการสื่อความหมายและก่อให้เกิดความเข้าใจ

6.Title Tag (ไตเติ้ล แท๊ก)
Title Tag (ไตเติ้ล แท๊ก) คือหัวข้อของหน้า Page (เพจ) ทุกเว็บไซต์ต้องมี Titile (ไตเติ้ล) ของหน้าเว็บเพื่อบ่งบอกว่าเว็บไซต์มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมาก โดย Titile (ไตเติ้ล) ควรมีอักษรตั้งแต่ 11 ถึง 70 ตัวอักษร และ Title (ไตเติ้ล) ควรเกี่ยวข้องกับ Keyword (คีย์เวิร์ด)

7.Number of links (นัมเบอร์ ออฟ ลิ้งค์) หรือจำนวนของการเชื่อมโยง
Number of links (นัมเบอร์ ออฟ ลิ้งค์) หรือ จำนวนของการเชื่อมโยง เป็นการตรวจสอบจำนวน Link (ลิ้งค์) ที่เชื่อมโยงโดยในหนึ่งหน้าควรมากกว่า 100 Links (ลิ้งค์)

8.Page Rank Flow (เพจ แร้งค์ โพลว)
Page Rank Flow (เพจ แร้งค์ โพลว) จำนวน % ของ Link (ลิ้งค์)ที่ไหลออก จากเว็บไซต์หรือหน้าเพจ ไปยังหน้าอื่น หรือเว็บไซต์อื่น

9.Loading time (โหลดดิ้ง ไทม์)หรือ เวลาในการโหลด
Loading time (โหลดดิ้ง ไทม์) หรือ เวลาในการโหลด เป็นการตรวจสอบเวลาในการโหลดหน้าเว็บเพจ หากหน้าเพจโหลดนานกว่ามาตรฐาน จะแจ้งเป็นสีแดงเวลาที่ใช้ในการโหลด Page (เพจ) ยิ่งเร็วยิ่งดี

10.Web analytics (เว็บ แอนะลิติกส์)หรือ การวิเคราะห์เว็บไซต์
Web analytics (เว็บ แอนะลิติกส์) หรือ การวิเคราะห์เว็บไซต์ เป็นการตรวจสอบว่าเว็บไซต์มีการใส่ Code (โค้ด) ของ Google Analytics (กูเกิ้ล แอนะลิติกส์) แล้วหรือไม่ โดยทุกเว็บควรที่จะต้องมีการใส่ Google Analytics (กูเกิ้ล แอนะลิติกส์) เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์เว็บไซต์
รูปภาพ
  • Similar Topics
    ตอบกลับ
    แสดง
    โพสต์ล่าสุด

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 42