ทำความรู้จักกับ Laravel Framework (ลาราเวล เฟรมเวิร์ค)

HTML Basic
สำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์มือใหม่ HTML , CSS และการใช้ Tools ต่างๆ ในการพัฒนาเว็บไซต์

Moderator: mindphp

บัวบุญ จันทะโคตร
PHP Super Member
PHP Super Member
โพสต์: 227
ลงทะเบียนเมื่อ: 26/06/2017 10:15 am

ทำความรู้จักกับ Laravel Framework (ลาราเวล เฟรมเวิร์ค)

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย บัวบุญ จันทะโคตร »

เมื่อก่อนตอนที่ Frameword (เฟรมเวิร์ค) ยังไม่มี เราก็เขียน Source code (ซอสโค้ด) กันได้ปกติ แต่โครงสร้างมันสะเปะสะปะมาก ทำให้คนอื่นที่มาเขียนต่อจากเราเกิดความไม่เข้าใจ และเกิดความล่าช้าในการทำงาน จึงเป็นที่มาของการสร้าง Framework (เฟรมเวิร์ค) เพื่อเป็นกรอบในการทำงาน วางโครงสร้างไดเร็กทอรี่ไว้ให้ เขียนคำสั่งที่ใช้บ่อยๆไว้ให้ วางแนวทางการเขียนไว้ให้ ทุกคนที่เคยใช้ Framework (เฟรมเวิร์ค) ตัวนั้นๆมา สามารถที่จะทำงานต่อยอดจากงานคนอื่นที่เคยทำไว้ได้

Laravel เป็น Framework ของ PHP ที่ได้รับความนิยมตัวหนึ่ง การที่มันได้รับความนิยมนั่นหมายความว่าเราสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับมันได้ไม่ยากนัก อีกสิ่งหนึ่งที่สร้างความมั่นใจให้กับเราได้ก็คือ มันจะยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ

ข้อดีและข้อเสียของการเลือกใช้ Laravel
ข้อดี Laravel คือ ทีมโปรแกรมเมอร์เขาไม่พยายามเขียนโค้ดเองทั้งหมด แต่จะไปเอาคลาสที่ดีที่เขียนแจกไว้แล้วในอินเตอร์เน็ต มาผนวกเข้ากับ Laravel บางส่วนที่ต้องเขียนเอง
ข้อเสีย Laravel เวลาเปลี่ยนเวอชั่นทีก็มักมีอะไรเปลี่ยนไปบางอย่าง แล้วการจะอัปเกรดจากเวอร์ชั่นเก่ามาเวอร์ชั่นใหม่ ค่อนข้างวุ่นวายพอสมควร

สิ่งที่ต้องรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Laravel
composer เป็นโปรแกรมที่ให้เรามาติดตั้งบนเครื่องที่เราใช้งาน ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราดาวน์โหลดปลั๊กอินมาติดตั้งในโปรเจ็ก
packagist.com อันนี้เป็นเว็บไซต์ที่มีไว้ให้เราหาคลาสมาใช้งาน โดยเราเพียงพิมพ์คำสั่ง composer เวลาเราสั่งให้มันติดตั้งคลาสบางตัว โดยที่มันก็ไปเอามาจากที่นี่มาเหมือนกัน และในเว็บ packagist.com ในหน้ารายละเอียดคลาส เขาก็ให้คำสั่งของ composer มาให้เราด้วย
php artisan อันนี้เป็นคำสั่งในตัว Laravel เอง เป็นคอมแมนไลน์ สำหรับสร้าง model สร้าง controller เรียกว่าเป็น utility อำนวยความสะดวกให้เราเท่านั้นเอง โดยคำสั่งนี้ติดมากับ Laravel อยู่แล้ว

ซึ่งการใช้งาน Laravel Framework นี้ไม่ค่อยมีความซับซ้อน สามารถติดตั้งเครื่องมืออื่นๆ เสริมเข้าไปด้วยได้ ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน อีกทั้งยังรวมไปถึงการใช้ code PHP เป้นหลักในการเขียน ซึ่งสามารถค้นหาตัวอย่างได้ตามอินเตอร์เน็ต ถือเป็น Framework (เฟรมเวิร์ค) อีกอันหนึ่งที่น่าใช้เลยทีเดียว
  • Similar Topics
    ตอบกลับ
    แสดง
    โพสต์ล่าสุด

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 36