การตรวจจับข้อผิดพลาด โดยใช้บิต (Parity Checks)

หมวดสำหรับแบ่งบันความ รู้ต่างๆ จะมีหมวดย่อยๆ ในหมวดนี้ เช่น php, SQL, XML, CSS

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

Patcharanan.0399
PHP Hero Member
PHP Hero Member
โพสต์: 114
ลงทะเบียนเมื่อ: 09/04/2018 10:04 am

การตรวจจับข้อผิดพลาด โดยใช้บิต (Parity Checks)

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย Patcharanan.0399 »

ตามหลักการแล้วเครือข่ายจะต้องสามารถถ่ายโอนข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ แต่เครือข่ายไม่สามารถรับประกันถึงข้อมูลที่ส่งไปยังปลายทาง ว่าจะเป็นข้อมูลที่เหมือนกับต้นทางที่ส่งมาหรือไม่ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ข้อมูลอาจผิดเพี้ยนไปจากเดิมในระหว่างการเดินทาง อันเนื่องมาจากการถูกรบกวนจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดทอนของสัญญาณ หรือถูกสัญญาณรบกวนสอดแทรกเข้ามาระหว่างการส่งข้อมูล สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบกับข้อมูลโดยตรง ทำให้บิตข้อมูลอาจจะถูกลบล้างไปบิตใดบิตหนึ่ง หรือหลายๆบิตก็เป็นได้ ทำให้ต้องมีการตรวจจับข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นนั้นเอง

:arrow: วิธีการตรวจจับข้อผิดพลาด โดยใช้บิต(Parity Checks)ในการตรวจจับ ซึ่งเป็นวิธีการตรวจจับข้อผิดพลาดอย่างง่ายและเป็นวิธีที่เกิดขึ้นมานานแล้ว โดยจะใช้บิตพาริตี้ซึ่งประกอบด้วยเลขไบนารี 0 หรือ 1 ปะท้ายเพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งบิตเพื่อใช้เป็นบิตตรวจจสอบ วิธีนี้จะมีอยู่ 2 วิธีด้วยกันคือ การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity) หรือการตรวจบิตภาวะคี่ (Odd Parity)
ตัวอย่าง
การตรวจสอบบิตภาวะคู่ บิตข้อมูลมีค่าเท่ากับ 0100110 ดังนั้นบิตพาริตี้ที่เพิ่มเข้าไปก็คือบิต 1 เพื่อให้เป็นบิตคู่จะได้ 01001101 แต่ถ้าข้อมูลมีค่าเท่ากับ 0110110 บิตพาริตี้ที่เพิ่มเข้าไปก็จะเป็นบิต 0 ก็จะได้ 01101100 เมื่อฝั่งส่งได้ส่งข้อมูลและใส่บิตพาริตี้ใช้วิธีการตรวจสอบบิตแบบภาวะคู่ เมื่อข้อมูลส่งไปยังปลายทาง ปลายทางจะตรวจสอบบิตด้วยวิธีเดียวกัน
[attachment=0]4-28-2018 3-09-56 AM.jpg[/attachment]


แนบไฟล์
แสดงการตรวจสอบบิตภาวะคู่ ซึ่งมีบิตหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ตรวจจับข้อผิดพลาดพบ
แสดงการตรวจสอบบิตภาวะคู่ ซึ่งมีบิตหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ตรวจจับข้อผิดพลาดพบ
4-28-2018 3-09-56 AM.jpg (22.79 KiB) Viewed 1359 times
  • Similar Topics
    ตอบกลับ
    แสดง
    โพสต์ล่าสุด

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 61