ขั้นตอนและการเตรียมตัว การสรรหา ว่าจ้าง พนักงานพิการเข้าทำงาน

หมวดสำหรับแบ่งบันความ รู้ต่างๆ จะมีหมวดย่อยๆ ในหมวดนี้ เช่น php, SQL, XML, CSS

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

fighthrmd125
PHP Hero Member
PHP Hero Member
โพสต์: 120
ลงทะเบียนเมื่อ: 15/02/2021 9:29 am

ขั้นตอนและการเตรียมตัว การสรรหา ว่าจ้าง พนักงานพิการเข้าทำงาน

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย fighthrmd125 »

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนเลยว่า ในปัจจุบันนี้ผู้พิการ ถือเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคมเนื่องจากมีสภาพร่างกายที่ไม่พร้อมเหมือนกับคนปกติทั่วไป ทำให้บางคนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ คนพิการส่วนหนึ่ง แม้จะมีความพิการทางร่างกาย แต่ก็ยังต้องการที่จะใช้ชีวิตและทำงานได้เหมือนเช่นคนปกติทั่วไป อยากทำงาน อยากมีรายได้จุนเจือครอบครัวเหมือนอย่างพวกเรา รัฐบาลเองก็เห็นความสำคัญในเรื่องของคนพิการและต้องการให้ความช่วยเหลือ จึงได้จัดให้มีสวัสดิการต่าง ๆ สำหรับคนพิการขึ้น รวมถึงกรณีที่ผู้พิการที่ต้องการเข้าทำงานในสถานประกอบการ โดยให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี จนแทบจะเรียกได้ว่า หากนายจ้างจ้างผู้พิการที่มากพอ กำไรที่สามารถทำได้จากกิจการก็แทบจะไม่ต้องเสียภาษีให้กับรัฐเลยก็ว่าได้ ถือว่า รัฐสนับสนุนธุรกิจที่ช่วยจ้างคนพิการเข้าทำงานนั่นเอง
banner_01_web_20190604.jpg
banner_01_web_20190604.jpg (51.84 KiB) Viewed 1372 times
ขั้นตอนและการเตรียมตัวสรรหา ว่าจ้าง พนักงานพิการเข้าทำงาน
1. เราต้องนับจำนวนลูกจ้างในบริษัทเราก่อน เพื่อคำนวณจำนวนผู้พิการ ที่เราจะเราเข้ามาทำงาน โดยให้นับลูกจ้างที่ปฎิบัติงานทั้งสาขาใหญ่ หรือ สาขาทั่วประเทศ (ถ้ามี) รวมเข้าด้วยกันและคำนวณตามอัตราส่วนลูกจ้าง ทุกๆ 100 คน ต่อ ผู้พิการ 1 คน คิดเป็นอัตราส่วน 100 : 1 คน ถ้าเกิน 50 คน ต้องรับเพิ่มอีก 1 คน ยกตัวอย่าง ทั้งบริษัทมีลูกจ้าง 150 คน เท่ากับว่า ต้องรับผู้พิการเพิ่มอีก 1 คน รวมเป็น 2 คน

2. วิธีการปฏิบัติตามกฎหมาย
2.1 รับผู้พิการที่สามารถทำงานได้เข้าเป็นลูกจ้างตามมาตรา 33 โดยให้ทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสมกับสภาพการพิการและตามความรู้ความสามารถ ยกตัวอย่างเช่น พิการขา แต่มีความเชี่ยวชาญด้านตัดต่อวิดีโอ สามารถใช้มือทำงานได้ ก็รับผู้พิการมาทำงาน ตำแหน่ง กราฟิคดีไซน์ หรือ ตัดต่อวิดีโอ ก็ได้ เป็นต้น
2.2 ส่งเสริมให้ผู้พิการให้มีอาชีพอิสระตามมาตรา 35 โดยการจัดการให้สัมปาทาน หรือ จัดสถานที่จำหน่ายสินค้า หรือ บริการ เช่น จำหน่ายล๊อตเตอรี่ เป็นต้น และยังมีการจัดจ้างเหมาช่วงงาน หรือ จ้างเหมาบริการโดยกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลือแก่ผู้พิการ โดยให้ยื่นคำขอให้สิทธิต่อสำนักจัดหางานกรุงเทพฯ พื้นที่ 1 - 10 หรือ สำนักจัดหางานทุกจังหวัดทั่วประเทศ ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกๆปี เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการรายงานผลตามกฎหมายประจำปี
2.3 ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งตามกฎกระทรวงกำหนดจำนวนผู้พิการที่นายจ้างและหน่วยงานของรัฐ ต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้าง จะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สามารถดำเนินการได้เป็นกรณีๆ ดังนี้
- กรณี นายจ้าง ไม่ได้รับผู้พิการเข้าทำงานให้ส่งเงินเข้ากองทุนฯ เป็นรายปี โดยคำนวณจากอัตราขั้นต่ำของค่าจ้างในอัตราขั้นต่ำสุด ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี แต่ถ้าหากส่งเงินเข้ากองทุนฯ เข้ากำหนดเกินระยะเวลา จะต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 % ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นไป
- กรณี นายจ้าง ได้จ้างงานผู้พิการเข้ามาทำงาน หรือ ดำเนินการตามมาตรา 35 แต่ไม่ครบเงื่อนไขที่กำหนด ให้ส่งเงินเข้ากองทุนฯ ตามจำนวนวันที่ไม่ได้ปฎิบัติให้ครบถ้วนตามเงื่อนไข เว้นแต่จะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดภายใน 45 วัน ตามตัวอย่างดังต่อไปนี้
- ตัวอย่าง การจ้างงานคนพิการประจำปี 2563 นายจ้างได้ดำเนินการจ้างงานผู้พิการในวันที่ 4 มกราคม 2563 ซึ่งก็ถือว่า ปฎิบัติตามกฎหมายแต่ยังไม่ครบเงื่อนไขแห่งปี ดังนั้นในวันที่ 1 - 3 มกราคม 2563 นายจ้างต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ ตามจำนวนวันที่ไม่ได้ปฏิบัติให้ครบถ้วน

3. การรายงานผลและปฎิบัติตามกฎหมาย ให้นายจ้างรายงานผลการปฎิบัติ โดยใช้แบบรายงานการปฎิบัติตามกฎหมายการจ้างงานพนักงานผู้พิการประจำปี ดังนี้
3.1 ให้กรอกแบบ จพ. 0 - 1 และลูกจ้างในแบบ จพ. 0 - 5 พร้อมกับแบบส่งสำเนาแบบรายการแสดงส่งเงินสมทบ กองทุนประกันสังคม ( สปส 1 - 10 ส่วนที่ 1) สำเนาใบเสร็จรับเงินเดือนตุลาคม พร้อมสำเนาใบเสร็จประจำเดือนตุลาคมของทุกสาขา (กรณีส่งเงินเป็นรายสาขา) , หนังสือรับรองนิติบุคคล , หนังสือรับมอบอำนาจปิดอากรณ์สแตมป์ตามกฎหมาย ในกรณีที่นายจ้าง หรือ กรรมการ ไม่ได้ลงนามในแบบรายงานด้วยตนเอง

3.2 กรณีรับผู้พิการเข้ามาทำงานตามมาตรา 33
1) ให้กรอกแบบ จพ. 0 - 1 และ จพ. 0 - 5
2) ให้กรอกแบบ จพ. 0 - 2
3) สำเนาสมุด หรือ บัตรประจำตัวผู้พิการ (ผู้พิการต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง)
4) สำเนาสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด หรือ กรณีสำเนาที่มีกำหนดระยะเวลา ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ( 1 มกราคม - 31 ธันวาคม )
5) สำเนาแบบรายละเอียดการนำส่งเงินกองทุนประกันสังคม (สปส 1 - 10 ส่วนที่ 2) ที่ระบุชื่อผู้พิการของเดือนมกราคม ถึง เดือนปัจจุบัน พร้อมสำเนาใบเสร็จ

3.3 กรณีส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34
1) ให้กรอกแบบ จพ. 0 - 1 และ จพ. 0 - 5
2) ให้กรอกแบบ จพ. 0 - 3
3) เงินสด เช็คขีดคร่อม หรือ ธนาณัติสั่งจ่าย "กองทุนส่งเสริมและพัฒนาชีวิตคนพิการ"
4) การคำนวณเงินสามารถเช็คได้ที่ https://ejob.dep.go.th/ เมนูคำนวณเงิน

3.4 กรณีจัดให้มีการส่งเสริมอาชีพแก่ผู้พิการตามมาตรา 35
1) ให้กรอกแบบ จพ. 0 - 1 และ จพ. 0 - 5
2) ให้กรอกแบบ จพ. 0 - 4 พร้อมแนบสำเนาสัญญาตามมาตรา 35 ได้แก่ การให้สัปทาน หรือ จัดสถานที่จำหน่ายสินค้า หรือ บริการ หรือ จัดจ้างเหมาช่วงงาน หรือ จ้างเหมาบริการโดยกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลือแก่ผู้พิการใดๆ
3) สำเนาหนังสือแจ้งผลดำเนินการตามมาตรา 35 จากสำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯ หรือ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ แจ้งให้ใช้สิทธิตามระเบียบ
4) ตรวจรายการนำส่งเอกสาร และ ลงชื่อในส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2 ของใบส่งเอกสารการรายงานผลปฎิบัติตามกฎหมายการจ้างงานผู้พิการประจำปี

4. สถานที่ส่งรายผลการปฎิบัติตามกฎหมาย ให้ส่ง ณ. จังหวัดที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ตามการจดทะเบียน กรมการพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
4.1 กรณีตั้งอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร ให้ส่งที่ กองทุนและส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ อาคารกอง กองทุนและส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ เลขที่ 102/41 ถนนเศรษฐศิริ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ในวันและเวลาราชการ ในวันที่ 2 มกราคม - 31 มีนาคม
4.2 กรณีตั้งอยู่ต่างจังหวัด ให้ส่งที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ. ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด และ ศาลากลางจังหวัด
4.3 กรณีนายจ้างประสงค์ที่จะรายงานผลการปฎิบัติตามกฎหมายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้สมัครเข้าใช้งาน และ ดำเนินการตามขั้นตอนตามที่ปรากฏในแผ่น CD ROM ที่แนบมาพร้อม

5. ข้อมูลเพิ่มเติม หรือ ดาวโหลดเอกสารกฎหมาย และ เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ที่ https://ejob.dep.go.th/


บทสรุป
-เมื่อได้ทำงาน ผู้พิการก็จะมีรายได้ทำให้รู้สึกว่า ชีวิตมีคุณค่าก็จะสามารถใช้ชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในส่วนของผู้ประกอบการเอง หากมีงานที่สามารถจ้างคนพิการได้ นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือคนด้อยโอกาสแล้วก็ยังจะได้รับสิทธิ์ประโยชน์ทางด้านภาษีอย่างมากมายด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก กรมการจัดหางาน , กองทุนส่งเสริมและพัฒนาชีวิตคนพิการ , กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 99