Kidbright เทคโนโลโลยีสมองกลฝังน่ารู้

Microsoft Office Knowledge Word, Excel, powerpoint, line , โปรแกรมเสริมต่างๆ

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

Rujikon
PHP Super Member
PHP Super Member
โพสต์: 491
ลงทะเบียนเมื่อ: 02/05/2018 9:57 am

Kidbright เทคโนโลโลยีสมองกลฝังน่ารู้

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย Rujikon »

[list][list][list][list][list][attachment=2]2.jpg[/attachment][/list][/list][/list][/list][/list]
วันนี้ผมจะพาไปรู้จักเทคโนโลยีบอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัวที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่ง และทำงานร่วมกับอุปกรณ์ Internet Of Thing (IoT) โดยผู้เรียนสามารถสร้างชุดคำสั่งผ่านโปรแกรม KidBright บนเว็บไซต์ ที่ใช้งานง่าย เพียงใช้การลากบล็อกคำสั่งมาวางต่อกัน (Drag and Drop) ช่วยลดความกังวลในการแก้ปัญหาเรื่องการพิมพ์ชุดคำสั่งผิด ชุดคำสั่งที่ถูกสร้างดังกล่าวจะถูกส่งไปที่บอร์ด KidBright และระบบเฉพาะที่เชื่อมต่อให้ทำงานตามที่ต้องการ เช่น รดน้ำต้นไม้ตามระดับความชื้นที่กำหนด หรือเปิดปิดไฟตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น
[list][list][list][list][list][list][list][attachment=0]5.jpg[/attachment][/list][/list][/list][/list][/list][/list][/list]
[list][attachment=1]4.jpg[/attachment][/list]
หลักการทำงานของ KidBright
ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ KidBright Board และ MobileApplication Board
KidBright Board จะทำหน้าที่ในควบคุมการแสดงผลผ่านเซ็นเซอร์ จากการออกแบบชุดคำสั่งบน MobileApplication Board ที่โดยผู้เรียนจะจัดเรียงชุดคำสั่งที่เป็นบล็อกนำต่อกัน ซึ่งมีลักษณะเหมือนการเขียนโปรแกรม ชุดคำสั่งจะประมวลผลสั่งให้รันข้อมูลไปที่บอร์ดแสดงผลทำงาน เช่น ให้เปิดไฟในช่วงเวลาที่ต้องการ ให้ควบคุมการปิดเปิดไฟ เมื่อไม่มีแสงสว่าง เป็นต้น

การติดต่อกันระหว่างอุปกรณ์ สามารถทำได้ง่าย โดยชุดคำสั่งสามารถตรงไปยัง KidBright Board เพื่อให้ 2 อุปกรณ์คุยผ่านกัน จะใช้ผ่านเครือข่ายไร้สายหรือไม่ก็ได้ หรือจะส่งข้อมูลสั่งการโดยตรงก็สามารถทำได้ โดยระยะห่างของอุปกรณ์ไม่ควรเกิน 2 เมตร
การใช้งาน Kidbright Board สามารถนำไปตรวจจับ หรือวัดค่าใดๆ ได้หลากหลาย ด้วยการนำเซ็นเซอร์ที่วัดค่าต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกับ chain จินตนาการของคุณกำลังจะเข้าสู่โหมดความเป็นจริง

จุดเด่นของเทคโนโลยี:
• บอร์ดสมองกลฝังตัวประกอบด้วย เซ็นเซอร์พื้นฐาน จอแสดงผล real-time clock ลำโพง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย
• สร้างชุดคำสั่งแบบ block-structured programming ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน
• ชุดคำสั่งถูกส่งไปยังบอร์ดสมองกลฝังตัวผ่านเครือข่ายไร้สาย ทำให้ใช้งานได้ง่ายไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อสาย

ที่มาของแหล่งข้อมูล
[1] https://www.nectec.or.th
[2] https://scitech.kpru.ac.th
[3] https://www.kid-bright.org
ที่มาของรูปภาพ
[1] https://www.google.co.th
แนบไฟล์
2.jpg
2.jpg (56.04 KiB) Viewed 2442 times
4.jpg
4.jpg (64.26 KiB) Viewed 2442 times
5.jpg
5.jpg (78.56 KiB) Viewed 2442 times

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 48