การเก็บรวบรวมข้อมูล

Microsoft Office Knowledge Word, Excel, powerpoint, line , โปรแกรมเสริมต่างๆ

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

bom_002
PHP Super Member
PHP Super Member
โพสต์: 443
ลงทะเบียนเมื่อ: 06/03/2017 10:51 am

การเก็บรวบรวมข้อมูล

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย bom_002 »

170421164054-FgVg (1).png
170421164054-FgVg (1).png (11.05 KiB) Viewed 2426 times
การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการ ทางสถิติ ที่มีความสำคัญ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ และสอดคล้องกับกรอบแนวความคิด สมมุติฐาน เทคนิคการวัด และการวิเคราะห์ข้อมูล

- การเก็บข้อมูล Data Collection (ดาต้า คลอเลคชั่น)
คือ การเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่ เช่น การเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ database (ดาต้าเบส)
- การรวบรวมข้อมูล Data Compilation (ดาต้า คอมพิเลชั่น) หมายถึง การนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้อื่นได้เก็บไว้แล้ว หรือรายงานไว้ในเอกสารต่าง ๆ มาทำการศึกษาวิเคราะห์ต่อ เช่น นำ dataflow (ดาต้าโฟร) มาศึกษาขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเพื่อปรับปรุงใหม่

ประเภทของข้อมูล
โดยทั่วไปจำแนกตามลักษณะของข้อมูลได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ข้อมูลเชิงปริมาณ Quantitative Data (คีนติทีฟ ดาต้า) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ทางสถิติได้
2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ Qualitative Data (คอติทีฟ ดาต้า) คือ ข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข แต่เป็นข้อความ

แหล่งที่มาของข้อมูล
โดยทั่วไปสามารถจัดประเภทข้อมูลตามแหล่งที่มาได้ 2 ประเภท คือ
1. ข้อมูลปฐมภูมิ Primary Data (เพมารี่ ดาต้า) คือ ข้อมูลที่ผู้วิจัยเก็บขึ้นมาใหม่เพื่อ ตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัยในเรื่องนั้น ๆ
2. ข้อมูลทุติยภูมิ Secondary Data (เชคคันเดรี่ ดาต้า) คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีผู้เก็บหรือรวบรวมไว้ก่อนแล้ว เพียงแต่นักวิจัยนำข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษาใหม่ เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร สถิติจากหน่วยงาน

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล อาจแบ่งเป็นวิธีการใหญ่ ๆ ได้ 3 วิธี คือ
1. การสังเกตการณ์ Observation (ออฟเซอร์วาชัน) ทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม หรืออาจจะแบ่งเป็น การสังเกตการณ์แบบมีโครงสร้าง และการสังเกตการณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
2. การสัมภาษณ์ Interview (อินเตอร์วิว) นิยมมากในทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม อาจจะจำแนกเป็นการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล และการสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม
3. การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เช่น หนังสือ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น

ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด
2. กำหนดแหล่งข้อมูล
3. เลือกกลุ่มตัวอย่าง
4. เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
5. นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้
6. ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล

ประเภทของเครื่องมือรวบรวมข้อมูล

ตัวอย่างเช่น แบบทดสอบ แบบสอบถามทางคอมพิวเตอร์ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินค่า และแบบวัดอื่น ๆ

อ้างอิง
gotoknow.org
:plusone:

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 89