Business Intelligence (BI) คืออะไร

Microsoft Office Knowledge Word, Excel, powerpoint, line , โปรแกรมเสริมต่างๆ

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

meeieis
PHP Super Hero Member
PHP Super Hero Member
โพสต์: 585
ลงทะเบียนเมื่อ: 29/05/2017 10:04 am

Business Intelligence (BI) คืออะไร

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย meeieis »

Business Intelligence (BI) คืออะไร
ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับระบบธุรกิจที่มีการแข่งขันกันค่อนสูง จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าการที่องค์กรจะอยู่รอดได้นั้นจะต้องมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและสามารถนำไปวางแผน หรือแก้ไขปัญหาเชิงธุรกิจได้ทันที ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรการจะได้ข้อมูลและสารสนเทศเหล่านั้นจำเป็นต้องมีการหาวิธีการ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้มากเพราะว่าข้อมูลเหล่านั้นไม่ใช่เพียงข้อมูลภายในองค์กรเท่านั้น อาจเป็นข้อมูลขององค์กรคู่แข่งหรือเป็นข้อมูลขององค์กรอื่นๆ ที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันกับเรา การเลือกข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณค่าจากกองข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบข้อมูลสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมานั้นเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรได้ จึงจำเป็นต้องมีระบบที่สามารถช่วยเตรียมข้อมูลที่และมีคุณค่าทางธุรกิจให้แก่องค์กรได้
dashboard.jpg
dashboard.jpg (46.64 KiB) Viewed 1936 times
Business Intelligence - BI (บิสิเนส อินเทลลิเจนซ์ - บีไอ) คือ Software (ซอฟต์แวร์) ที่นำข้อมูลไปจัดทำรายงานในรูปแบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับมุมมองในการวิเคราะห์ แสดงความสัมพันธ์ และทำนายผลลัพธ์ของแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นได้ตรงตามความต้องการขององค์กร เพื่อประโยชน์ในการวางแผนกลยุทธด้านต่างๆ

องค์ประกอบของ Business Intelligence
Data Warehouse (ดาต้าแวร์เฮ้าส์) คือ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอกองค์กร โดยมีรูปแบบและวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลซึ่งจำเป็นต้องมีการออกแบบฐานข้อมูลให้สอดคล้องกับการนำข้อมูลมาใช้งาน

Data Mart (ดาต้ามาร์ท) คือ คลังข้อมูลขนาดเล็กมีการเก็บข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง เช่น เก็บข้อมูลส่วนของการเงิน ส่วนของสินค้าคงคลัง ส่วนของการขาย เป็นต้น ซึ่งทำให้การจัดการข้อมูลการนำเอาข้อมูลไปสร้างความสัมพันธ์และวิเคราะห์ต่อง่ายขึ้น

Data Mining (ดาต้าไมนิง) การทำเหมืองข้อมูล คือ การนำคลังข้อมูลหลักมาประมวลผลใหม่ แสดงเฉพาะสิ่งที่สนใจโดยกระบวนการในการดึงข้อมูลออกจากฐานข้อมูลจะมีสูตรทางธุรกิจ Business Formula (บิสิเนส ฟอร์มูล่า) และเงื่อนไขต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น เป็นแผนภูมิในการตัดสินใจ Decision Trees (ดิซิชัน ที) เป็นต้น

Operations Research & Numerical Methods (โอเปอเรชัน รีเสิร์ช แอนด์ นูเมอริคอล เมธอด) การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

On-Line Analytical Processing - OLAP (ออน-ไลน์ อนาไลติคอล โปรเซสซิ่ง - โอแอลเอพี) เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมิติ แบบประมวลผลทันทีที่ป้อนข้อมูลเข้าไป คือ การสืบค้นข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเลือกผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบของตารางหรือกราฟ โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมองหลากหลายมิติ Multi-Dimensional (มัลติ-ไดเมนชัน) โดยที่ผู้ใช้สามารถที่จะดูข้อมูลแบบเจาะลึก Drill Down (ดริลดาวน์) ได้ตามต้องการ

Search & Report (เสิร์ช แอนด์ รีพอร์ต) ระบบสืบค้นและออกรายงานต่างๆ

จุดเด่นของ Business Intelligence
ใช้งานง่าย เพียงแค่คลิกเมาส์ก็สามารถเปลี่ยนแปลงรายงานได้โดยไม่ต้องมีการคีย์ข้อมูลใหม่ ซึ่งผู้ใช้สามารถถามตอบคำถามทางธุรกิจได้หลายมุมมองเพียงในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งช่วยการตัดสินใจ แม่นยำ และรวดเร็วกว่าคู่แข่ง ทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่หลากหลายภายในองค์กรมาทำการวิเคราะห์ เช่น Excel (เอกซ์เซล), FoxPro (ฟอกซ์โปร), Dbase (ดีเบส), Access (แอคเซส), ORACLE (ออราเคิล), SQL Server (เอสคิวแอล เซิร์ฟเวอร์), Informix (อินฟอร์มิกซ์), Progress (โปรเกรส), DB2 (ดีบีทู) เป็นต้น โดยไม่ต้องมีการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม

ปัญหาที่พบในการใช้งาน Business Intelligence
- ไม่สามารถเชื่อมข้อมูลจากทุกส่วนได้ภายในระบบเดียวกัน เช่น ต้อง Export (เอ็กพอร์ต) ข้อมูลออกจากฐานข้อมูลก่อน จึงจะมาสร้าง dashboard (แดชบอร์ด), พยากรณ์ข้อมูล forecasting (ฟอร์แคสติ้ง) ได้
- องค์กรส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้งานในส่วน Analytics (อนาไลติก) การวิเคราะห์ข้อมูล ได้อย่างคุ้มค่า เช่น บางระบบไม่สามารถพยากรณ์ผลลัพธ์ได้ หรือ บางระบบพยากรณ์ผลลัพธ์เชิงปริมาณแบบเส้นตรงเท่านั้น หรือ บางระบบไม่สามารถวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ หรือ ทำแบบจำลองเพื่อตัดสินใจได้ Simulation for Decision (ซีมูเลชัน ฟอร์ ดิซิชัน)
- BI บางค่าย ไม่มีฟังก์ชัน data mining มาให้พร้อม จึงต้องแยกระบบวิเคราะห์อีกต่างหาก
- องค์กรขนาดใหญ่บางแห่ง อาจใช้เวลาในการติดตั้งระบบ Implementation (อิมพลีเมนเทชั่น) นานและต้องใช้เวลากว่าที่ผู้ใช้จะสามารถใช้งานระบบได้คล่อง
- การอัพเกรดระบบจากระบบเดิมอาจทำได้ยาก เช่น data warehouse เดิม ไม่รองรับ business intelligence ใหม่
- พนักงาน IT (ไอที) ขององค์กรขาดความรู้ความเข้าใจในเชิง Business, Management (เมเนจเมนท์)
- ค่าใช้จ่ายสูง ทำให้องค์กร ธุรกิจเล็กๆ หรือหน่วยงานที่มีงบไม่มาก ขาดโอกาสในการจัดซื้อ หรือได้ BI ที่มีฟังก์ชันหลากหลาย

การบูรณาการข้อมูล Integration of Data (อินทีเกรชัน ออฟ ดาต้า) ระหว่างข้อมูลประวัติกับข้อมูลปัจจุบัน ถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของระบบ Business Intelligence ขั้นสูง เนื่องจากมีธุรกิจจำนวนมากนำผลลัพธ์จากระบบนี้มาใช้ ทำให้พัฒนาเครื่องมือการบริหาร วิเคราะห์ปัจจัย หรือทำนายแนวโน้ม เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจกำหนดทิศทางธุรกิจและการตลาด

References : Business Intelligence. "Business Intelligence".[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:imd.co.th. [12 ก.ค. 2017].
ภาพประกอบ : commons.wikimedia.org/
  • Similar Topics
    ตอบกลับ
    แสดง
    โพสต์ล่าสุด

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 85