หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เรียนรู้คอมโพแนต์พื้นฐาน MIT App Inventor

โพสต์แล้ว: 03/05/2018 5:11 pm
โดย Rujikon
      • App.png
        App.png (23.44 KiB) Viewed 2729 times
  • MIT App Inventor เป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และในปัจจุบัน MIT App Iventor ได้
พัฒนามาเป็น (Version 2) หรือที่รู้จักกันแพร่หลายในชื่อ AI2 โดยจะใช้หลักการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงคอมโพแนต์ (Component-based Software evelopment) และผู้ใช้สามารถนำคอมโพแนต์ หรือชิ้นส่วนของซอฟต์แวร์มาประกอบกันขึ้นเป็น แอปพลิเคชัน
  • ชึ่ง AI2 ได้จัดเตรียมคอมโพแนต์พื้นฐาน ให้ผู้ใช้ได้นำมาประกอบขึ้นเป็นแอบพลิเคชันตามต้องการ ดังรูป
      • Selection_026.png
        Selection_026.png (69.2 KiB) Viewed 2729 times
ใน AI2 ได้แบ่งกลุ่มคอมโพแนต์พื้นฐานไว้ดังนี้
  • หมายเลข 1 User Interface components เป็นกลุ่มของคอมโพแนต์ที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้ เช่น ส่วนรับข้อความ
    หรือ ปุ่มคำสั่งในการใช้งาน เป็นต้น
    หมายเลข 2 Layout components เป็นกลุ่มของคอมโพเนนต์ที่ควบคุมการวางตำแหน่งของคอมโพเนนต์ที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้บนหน้าจอ
    หมายเลข 3 Media components เป็นกลุ่มของคอมโพแนต์ ที่ใช้แสดงสื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น รูปภาพ วิดีโอ เสียง เป็นต้น
    หมายเลข 4 Drawing and Animation components เป็นกลุ่มของคอมโพแนต์ที่ใช้วาดรูป และ แสดงภาพ เคลื่อนไหว
    หมายเลข 5 Sensor components เป็นกลุ่มของคอมโพเแนต์ ที่ใช้ทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์ของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น จีพีเอส (GPS) และ เข็มทิศ
    หมายเลข 6 Social components เป็นกลุ่มของคอมโพแนต์ ที่ใช้สื่อสารกับสังคมออนไลน์ เช่น การส่งเอสเอ็มเอส (SMS) การเรียกดูสมุดโทรศัพท์ หรือ การแชร์กับสังคมออนไลน์ เป็นต้น
    หมายเลข 7 Storage components เป็นกลุ่มของคอมโพแนต์ที่ใช้จัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูลขนาดเล็ก หรือข้อมูลในไฟร์แอปพลิเคชัน
    หมายเลข 8 Connectivity components เป็นกลุ่มของคอมโพแนต์ ที่ใช้สร้างการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ผ่านบลูทูธ และเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดยใช้ภาษาจาวา (Java Application)
    หมายเลข 9 LEGO MINDSTORMS componentsเป็นกลุ่มของคอมโพเนนต์ที่ใช้ควบคุมหุ่นยนต์เลโก
    (Lego Mindstorms NXT Robot)
ประโยชน์ของคอมโพเนนต์เหล่านี้คือ ทำให้การพัฒนาแอปพลิเคชันเร็วขึ้น เพราะแต่ละคอมโพเนนต์มีหน้าที่เฉพาะ มีการจัดการกับข้อมูลของมันเอง ทำให้
การพัฒนาไม่ต้องเสียเวลาในการทำงานพื้นฐานเหล่านั้น แต่จะใช้เวลาในการเลือกคอมโพเนนต์ที่เหมาะสมเพื่อนำมาประกอบกันเป็นแอปพลิเคชันแทน การใช้งาน AI2 เป็นแบบมองเห็นได้ในขณะออกแบบ(Visually design) คือ เป็นลักษณะของภาษาภาพที่มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบลากแล้ววางทำให้ผู้ใช้สามารถฒนาแอปพลิเคชันได้โดยไม่ต้องเขียนรหัสคำสั่ง ผู้ใช้สามารถมองเห็นการออกแบบแอปพลิเคชันบนหน้าจอได้ทันทีผู้ใช้สามารถกำหนดองค์ประกอบหรือชิ้นส่วนของแอปพลิเคชัน แล้วระบุลักษณะหรือเหตุการณ์การทำงานของแอปพลิเคชัน โดยการกำหนดค่าที่ต้องการลงในบล็อค (Block) เหมือนกับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น การกำหนดตัวแปร การสร้างเงื่อนไข การทำซ้ำ หรือแม้แต่การคำนวณการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล และสร้างการพูดคุยกับบริการเว็บ เช่น ทวิตเตอร์(Twitter) หรือ เฟซบุ๊ค(Facebook) (Guideline เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเขียนแอปพลิเคชัน


อ้างอิงแหล่งที่มาของรูปภาพ : https://www.google.com