JavaScript คืออะไร
JavaScript คือ ภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับการเขียนโปรแกรมบนระบบอินเทอร์เน็ต ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง Java JavaScript เป็น ภาษาสคริปต์เชิงวัตถุ (ที่เรียกกันว่า "สคริปต์" (script) ซึ่งในการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ (ใช่ร่วมกับ HTML) เพื่อให้เว็บไซต์ของเราดูมีการเคลื่อนไหว สามารถตอบสนองผู้ใช้งานได้มากขึ้น ซึ่งมีวิธีการทำงานในลักษณะ "แปลความและดำเนินงานไปทีละคำสั่ง" (interpret) หรือเรียกว่า อ็อบเจ็กโอเรียลเต็ด (Object Oriented Programming) ที่มีเป้าหมายในการ ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมในระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับผู้เขียนด้วยภาษา HTML สามารถทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ โดยทำงานร่วมกับ ภาษา HTML และภาษา Java ได้ทั้งทางฝั่งไคลเอนต์ (Client) และ ทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Server)
JavaScript ถูกพัฒนาขึ้นโดย เน็ตสเคปคอมมิวนิเคชันส์ (Netscape Communications Corporation) โดยใช้ชื่อว่า Live Script ออกมาพร้อมกับ Netscape Navigator2.0 เพื่อใช้สร้างเว็บเพจโดยติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์แบบ Live Wire ต่อมาเน็ตสเคปจึงได้ร่วมมือกับ บริษัทซันไมโครซิสเต็มส์ปรับปรุงระบบของบราวเซอร์เพื่อให้สามารถติดต่อใช้งานกับภาษาจาวาได้ และได้ปรับปรุง LiveScript ใหม่เมื่อ ปี 2538 แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า JavaScript JavaScript สามารถทำให้ การสร้างเว็บเพจ มีลูกเล่น ต่าง ๆ มากมาย และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างทันที เช่น การใช้เมาส์คลิก หรือ การกรอกข้อความในฟอร์ม เป็นต้น
เนื่องจาก JavaScript ช่วยให้ผู้พัฒนา สามารถสร้างเว็บเพจได้ตรงกับความต้องการ และมีความน่าสนใจมากขึ้น ประกอบกับเป็นภาษาเปิด ที่ใครก็สามารถนำไปใช้ได้ ดังนั้นจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง รวมทั้งได้ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานโดย ECMA การทำงานของ JavaScript จะต้องมีการแปลความคำสั่ง ซึ่งขั้นตอนนี้จะถูกจัดการโดยบราวเซอร์ (เรียกว่าเป็น client-side script) ดังนั้น JavaScript จึงสามารถทำงานได้ เฉพาะบนบราวเซอร์ที่สนับสนุน ซึ่งปัจจุบันบราวเซอร์เกือบทั้งหมดก็สนับสนุน JavaScript แล้ว อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องระวังคือ JavaScript มีการพัฒนาเป็นเวอร์ชั่นใหม่ๆออกมาด้วย (ปัจจุบันคือรุ่น 1.5) ดังนั้น ถ้านำโค้ดของเวอร์ชั่นใหม่ ไปรันบนบราวเซอร์รุ่นเก่าที่ยังไม่สนับสนุน ก็อาจจะทำให้เกิด error ได้
JavaScript ทำอะไรได้บ้าง
1.JavaScript ทำให้สามารถใช้เขียนโปรแกรมแบบง่ายๆได้ โดยไม่ต้องพึ่งภาษาอื่น
2.JavaScript มีคำสั่งที่ตอบสนองกับผู้ใช้งาน เช่นเมื่อผู้ใช้คลิกที่ปุ่ม หรือ Checkbox ก็สามารถสั่งให้เปิดหน้าใหม่ได้ ทำให้เว็บไซต์ของเรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานมากขึ้น นี่คือข้อดีของ JavaScript เลยก็ว่าได้ที่ทำให้เว็บไซต์ดังๆทั้งหลายเช่น Google Map ต่างหันมาใช้
3.JavaScript สามารถเขียนหรือเปลี่ยนแปลง HTML Element ได้ นั่นคือสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดงผลของเว็บไซต์ได้ หรือหน้าแสดงเนื้อหาสามารถซ่อนหรือแสดงเนื้อหาได้แบบง่ายๆนั่นเอง
4.JavaScript สามารถใช้ตรวจสอบข้อมูลได้ สังเกตว่าเมื่อเรากรอกข้อมูลบางเว็บไซต์ เช่น Email เมื่อเรากรอกข้อมูลผิดจะมีหน้าต่างฟ้องขึ้นมาว่าเรากรอกผิด หรือลืมกรอกอะไรบางอย่าง เป็นต้น
5.JavaScript สามารถใช้ในการตรวจสอบผู้ใช้ได้เช่น ตรวจสอบว่าผู้ใช้ ใช้ web browser อะไร
6.JavaScript สร้าง Cookies (เก็บข้อมูลของผู้ใช้ในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เอง) ได้
ข้อดีและข้อเสียของ Java JavaScript
การทำงานของ JavaScript เกิดขึ้นบนบราวเซอร์ (เรียกว่าเป็น client-side script) ดังนั้นไม่ว่าคุณจะใช้เซิร์ฟเวอร์อะไร หรือที่ไหน ก็ยังคงสามารถใช้ JavaScript ในเว็บเพจได้ ต่างกับภาษาสคริปต์อื่น เช่น Perl, PHP หรือ ASP ซึ่งต้องแปลความและทำงานที่ตัวเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (เรียกว่า server-side script) ดังนั้นจึงต้องใช้บนเซิร์ฟเวอร์ ที่สนับสนุนภาษาเหล่านี้เท่านั้น อย่างไรก็ดี จากลักษณะดังกล่าวก็ทำให้ JavaScript มีข้อจำกัด คือไม่สามารถรับและส่งข้อมูลต่างๆ กับเซิร์ฟเวอร์โดยตรง เช่น การอ่านไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์ เพื่อนำมาแสดงบนเว็บเพจ หรือรับข้อมูลจากผู้ชม เพื่อนำไปเก็บบนเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น ดังนั้นงานลักษณะนี้ จึงยังคงต้องอาศัยภาษา server-side script อยู่ (ความจริง JavaScript ที่ทำงานบนเซิร์ฟเวอร์เวอร์ก็มี ซึ่งต้องอาศัยเซิร์ฟเวอร์ที่สนับสนุนโดยเฉพาะเช่นกัน แต่ไม่เป็นที่นิยมนัก)
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.com5dow.com
http://www.thaigoodview.com
http://www.hellomyweb.com
- คุณอยู่ที่:
- คู่มือ
- ความหมายคำ คืออะไร
- JavaScript คืออะไร จาวา สคริปต์ คือ ภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับการเขียนโปรแกรมบนระบบอินเทอร์เน็ต
- หมวดหลัก: สารานุกรม IT
- หมวด: ความหมาย คำวลี คืออะไร
ให้เรตสมาชิก: 4 / 5





บทความล่าสุด
- หลักในการตั้งเลข Version สำหรับนักพัฒนา และ วิธีอ่านเวอร์ชั่นสำหรับผู้ใช้งาน
- รวมคำศัพท์ที่นักวิ่งมือใหม่ควรรู้
- แนะนำเว็บไซต์ Trello โปรแกรมสำหรับช่วยการจัดการงานเป็นทีม
- ภูมิอากาศของประเทศไทย
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางลมและความเร็วลม
- ทริคในการแนะนำ Product ให้น่าสนใจสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่
- ทำความรู้จักกับหน่วยวัดอุณหภูมิ - ฟาเรนไฮต์ เซลเซียส เคลวิน
VDO บทเรียน live
สอนเขียนโปรแกรม
- บทเรียน MySQL Store Procedure (14)
- บทเรียน PostgreSQL Stored Procedures (5)
- บทเรียน Phalcon Framework (0)
- บทเรียน Python Framework Flask (15)
- บทเรียน HTML (31)
- บทเรียน HTML5 (23)
- บทเรียน CSS (37)
- บทเรียน สอนเขียน php พื้นฐาน (63)
- บทเรียน ReactJS (13)
- บทเรียน PHP5 OOP (15)
- บทเรียน Joomla Framework (29)
- บทเรียน Yii Framework (21)
- บทเรียน SQL (28)
- บทเรียน สอนการใช้งาน phpMyadmin (18)
- บทเรียน สอน postgreSQL (21)
- บทเรียน Javascript (21)
- บทเรียน AJAX (8)
- บทเรียน Jquery (14)
- บทเรียน พัฒนา App บน Android OS (8)
- บทเรียน Python (60)
- บทเรียน Java (14)
- เรียนภาษาอังกฤษกับโปรแกรมเมอร์ ฉบับโปรแกรมเมอร์สอน (22)
- บทเรียนอื่นๆ (5)
- VDO Tutorial (0)
- บทเรียน Python GUI (134)
- บทเรียน Python Tensorflow (4)
เนื้อหาใกล้เคียง
- 2557-04-22 - PhoneGap คืออะไร PhoneGap เป็น Framework พัฒนา Mobile Application
- 2553-05-15 - Ajax Cache php แก้ปัญหา cache ของ Brwoser ทำให้ Ajax ของเราไม่ได้ข้อมูลที่สดใหม่
- 2549-11-18 - ประวัติความเป็นมาของภาษา PHP - ทำความรู้จักประวัติของ php
- 2553-10-18 - การสอดแทรกคำสั่งภาษา PHP ในเอกสาร HTML - สอน PHP
- 2550-08-05 - Cookies คือ ทำความรู้จัก กุ๊กกี้ใน php
กระทู้ล่าสุดจากเว็บบอร์ด