สวัสดีครับผู้อ่านทุกๆ ท่านนะครับกลับมาพบกันกับบความดีดีกันอีกแล้ว ในหมวดหมู่ของความหมายของคำนะครับ และ วันนี้เราจะมาทราบถึงหัวข้อที่ชื่อว่า Domain name (โดเมน เนม) ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ คืออะไรกันแน่ และมีประโยชน์อย่างไร Domain name (โดเมน เนม) คือชื่อโดเมน ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็นหมวดหมู่ ประเภทของWebSite ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลง IP Address กี่ครั้งโดเมนเนมก็เหมือนเดิมเอาหละได้เวลาเราไปทำความรู้จักกับมันให้มากขึ้นกันเลย
Domain name (โดเมน เนม) คืออะไรเครื่องมือออนไลน์โปรแกรมตรวจสอบ Domain
เว็บไซต์ถือเป็นองค์ประกอบหลักในการดำเนินธุรกิจ ปัจจุบันเว็บไซต์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เว็บไซต์สามารถเข้าถึงการทำงานได้อย่างมาก เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์ ทำให้มีผู้ให้บริการเว็บไซต์จำนวนมาก จึงต้องมีการกำหนดชื่อเผื่อไม่ให้มีการใช้งานซ้ำกัน Domain name (โดเมน เนม) คือชื่อโดเมน ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็นหมวดหมู่ ประเภทของเว็บไซต์
Domain name (โดเมน เนม) ชื่อโดเมน หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ คหรืออีเมลแอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบโดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึงเลขที่อยู่ไอพี ของชื่อนั้น ๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้ววววเพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งอาจใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนได้ชื่อโดเมนเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไปอักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่เล็กถือว่าเหมือนกัน1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลาย ๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้
ตัวอย่าง
ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง ยูอาร์แอล (URL) โดเมนเนม และ ซับโดเมน
ยูอาร์แอล: http://www.example.com/
ชื่อโดเมน: example.com
ซับโดเมน : subdomain.example.com
สรุปแล้วโดยทั่วไป ไอพีแอดเดรสกับชื่อเซิร์ฟเวอร์มักจะแปลงกลับไปมาได้ 1 ไอพีแอดเดรสมักหมายถึง 1 ชื่อเซิร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบัน ความสนใจในเรื่องเว็บ ทำให้จำนวนเว็บไซต์มีมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ โพรโทคอล HTTP จึงระบุว่าไคลเอนต์จะเป็นผู้บอกเซิร์ฟเวอร์ว่าชื่อใดที่ต้องการใช้ วิธีนี้ 1 เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ 1 ไอพีแอดเดรสจะใช้โดเมนเนมได้หลายชื่อ
ยกตัวอย่าง เซิร์ฟเวอร์ที่มีไอพี 192.0.34.166 อาจจะใช้งานโดเมนเนมเหล่านี้ได้:
- example1.com
- example2.net
- example3.org
สุดท้ายแล้วเราจะมามอบบทความดีดีให้ทุกคนทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การจดทะเบียนชื่อโดเมน คือ ความรู้เบื้องต้นสำหรับการขอจดโดเมนเนม เพื่อให้ทุกท่านมีพื้นฐานและข้อมูลที่ถูกต้อง ประเภทของโดเมนเนมที่มีอยู่ในระบบเครือข่าย ประเภทต่างๆของโดเมนเนมนั่นเองครับ
1. การจดทะเบียนโดเมนระดับบนสุดตามหมวด เช่น .com, .net, .org เป็นต้น
2. การจดทะเบียนโดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ เช่น .th สำหรับประเทศไทย
หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อโดเมน เป็นภาษาไทย
- ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
- สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
- ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้
- ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ domain
- ห้ามเว้นวรรคในชื่อโดเมน
อ้างอิงจาก
What is a domain name?.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก
https://www.website.com/beginnerguide/domainnames/8/1/What-is-a-domain-name?.ws [16.MAR.2020]