การออกแบบส่วนต่อประสาน (Interface Design)

 

การออกแบบ Interface Design
การออกแบบ Interface Design

 

การออกแบบส่วนต่อประสาน (Interface Design) เป็นการออกแบบหน้าจอ หรือหน้าต่างการทำงานของโปรแกรม ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการใช้งานของ User โดยลักษณะของ Interface ที่ดีควรมีลักษณะ เรียนนรู้การใช้งานได้ง่าย ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก และ เข้าใจการทำงานได้ง่าย ซึ่งการออกแบบหน้าจอให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานควรศึกษา ความต้องการจากผู้ใช้งานมาก่อน จากนั้นจึงจะนำมาทำการออกแบบหน้าจอการใช้งาน 

 

Theo Mandel ได้บัญญัติกฎ 3 ข้อในการออกแบบส่วนต่อประสาน คือ

  • Place the user in control
  • Reduce the user’s memory load
  • Make the interface consistent

 

Place the user in control (การให้ผู้ใช้เป็นผู้ควบคุมการทำงาน)

การออกแบบควรคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้ และปล่อยให้ผู้ใช้มีอิสระในการเลือกใช้งานหรือโต้ตอบกับระบบ หรือสามารถควบคุมการใช้งานบางส่วนได้ มีหลักเกณฑ์ในการออกแบบที่ใช้ควบคุม ดังนี้

กำหนดโหมดการโต้ตอบในลักษณะที่ไม่บังคับผู้ใช้โดยไม่จำเป็น หรือในทางที่ผู้ใช้ไม่ต้องการที่จะทำ เช่น ส่วนตรวจสอบคำสะกดในโปรแกรม ไม่ควรบังคับให้ผู้ใช้เข้าสู่โหมดการตรวจสอบคำทันทีที่พบคำผิด ควรให้ผู้ใช้ไปแก้ไขเองเมื่อต้องการ และเป็นการแก้ไขที่ใช้งานได้ง่ายด้วย

  1. จัดให้มีการโต้ตอบที่ยืดหยุ่น สามารถโต้ตอบกับระบบได้มากกว่า 1 ทาง เนื่องจากผู้ใช้งานแต่ละคนมีความชอบที่แตกต่างกัน จึงต้องมีตัวเลือกให้ใช้โปรแกรมผ่าน คีย์บอร์ด เมาส์ ปากกา หรือเสียงเพื่อสั่งงานระบบได้
  2. อนุญาตให้ผู้ใช้งานทำการหยุดหรือสามารถยกเลิกได้ เช่น ผู้ใช้ควรที่จะสามารถสลับการทำงานไปยังโปรแกรมอื่น โดยไม่ส่งผลกระทบกับข้อมูลที่ทำไป
  3. ออกแบบให้การโต้ตอบเป็นไปตามระดับความชำนาญในการใช้งาน เตรียมเครื่องมือสร้างการทำงานแบบอัตโนมัติให้กับผู้ใช้ เนื่องจากผู้ใช้มีทักษะในการใช้งานไม่เหมือนกันจึงควรปรับเปลี่ยนส่วนต่อประสารให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะตัวได้ บ่อยครั้งที่ผู้ใช้ต้องการทำงานที่ซ้ำเดิม จึงควรมีกลไกแมคโคร (marco) ที่ช่วยให้ผู้ใช้สะดวกในการทำงาน
  4. ซ่อนรายละเอียดด้านเทคนิคจากผู้ใช้ทั่วไป ไม่ควรให้ผู้ใช้ติดต่อกับระบบปฏิบัติการด้วยการพิมพ์คำสั่งโดยตรง แต่หากจำเป็นควรสร้างเป็น Wizard ให้ผู้ใช้ติดต่อกับระบบปฏิบัติการหรือการจัดการแฟ้มข้อมูล
  5. การออกแบบวัตถุที่วางไว้บนจอให้เข้าถึงโดยตรง เพื่อผู้ใช้จะรู้สึกว่าได้ควบคุมวัตถุที่ดูได้ เช่น การใช้เครื่องมือยืดขนาดในโปรแกรม Photoshop ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ทันที

 

Reduce the user’s memory load (ลดภาระการต้องจดจำของผู้ใช้)

ระบบที่ให้ผู้ใช้จดจำรายละเอียดการทำงานมากเกินไป มักเสี่ยงต่อการเกิดความผิดพลาดในการใช้งานสูง จึงไม่ควรเพิ่มภาระให้ผู้ใช้งานต้องจดจำ ระบบควรสามารถจดจำข้อมูลที่ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย และช่วยเตือนความจำให้ผู้ใช้เมื่อต้องกลับมาใช้งานภายหลังได้ Mandel ได้ออกแบบหลักการที่ช่วนลดภาระความจำของผู้ใช้ ดังนี้

  1. ลดความต้องการใช้งานหน่วยความจำระยะสั้นของผู้ใช้ ขณะที่ใช้โปรแกรมอยู่ ส่วนต่อประสานควรออกแบบให้ลดความจำเป็นที่ต้องจดจำการกระทำและผลที่เพิ่งทำมา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบงานที่ทำโดยไม่ต้องเสียเวลานึกย้อนกลับไปด้วยตนเอง
  2. การกำหนดค่าเริ่มต้น ควรกำหนดค่าเริ่มต้นการใช้งานที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานทั่วไป และมีตัวเลือกอื่นเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งค่าได้ และสามารถเรียกค่าเริ่มต้นกลับมาได้ด้วย
  3. นิยามปุ่มลัด (Shortcuts) ที่เข้าใจง่าย ตัวย่อควรคู่กับการกระทำในลักษณะที่ง่ายต่อการจดจำ เช่น ปุ่ม CTRL + S แทนคำสั่งการบันทึก โดยทั่วไปมักใช้อักษรตัวแรกของชื่อเรียกคำสั่ง
  4. การจัดการของส่วนต่ประสานควรเป็นไปตามอุปลักษณ์ของโลกจริงเพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจลำดับการทำงานได้ง่าย โดยไม่ต้องจดจำขั้นตอนการโต้ตอบกับระบบ
  5. เปิดเผยข่าวสารในลักษณะค่อย ๆ เพิ่มพูน ส่วนต่อประสานควรมีการจัดลำดับชั้นแสดงรายละเอียดการใช้งาน เช่น แสดงรายละเอียดพอสังเขปก่อน ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ให้ผู้ใช้คลิกเลือกเองเมื่อต้องการ เช่น การขีดเส้นใต้ มีหลายรูปแบบจะไม่ถูกแสดงในเบื่องต้น เมื่อผู้ใช้เลือกเมนูขีดเส้นใต้ จึงค่อยแสดงรายละเอียด เช่น เส้นเดี่ยว เส้นคู่ เส้นประ เป็นต้น

 

Make the interface consistent ( สร้างส่วนต่อประสานสอดคล้องกัน )

ส่วนประสานควรรับและแสดงผลในลักษณะสอดคล้องกัน หมายถึง รูปแบบของ Content ที่แสดงผลในระบบควรจัดให้อยู่ภายใต้มาตรฐานการออกแบบเดียวกันตลอดทุกหน้าจอ รวมทั้งกลไกการส่งผ่านจากระบบหนึ่งไประบบหนึ่ง ควรเป็นไปอย่าสอดคล้องกัน เชื่อมโยงกันเป็นลำดับขั้นตอน หลักการออกแบบที่ช่วยให้ส่วนต่อประสานให้สอดคล้องกัน มีดังนี้

  1. ช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่างานปัจจุบันอยู่ภายใต้บริบทใด ระบบอาจมีหลายหน้าจอซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้สับสนว่าทำงานอยู่ขั้นตอนใด จึงต้องมีส่วนที่บ่งบอก เช่น ชื่อหน้า ไอคอน สี ที่ช่วยให้ผู้ใช้ ทราบว่าปัจจุบันคืออะไร มาจากส่วนงานไหน และจะไปต่อได้อย่างไรบ้าง
  2. มีความสอดคล้องกันตลอดทั้งระบบ ส่วนประสานต้องเหมือนและสอดคล้องกันตลอดกลุ่มผลิตภัณฑ์เดียวกัน แม้ว่าวัตถุประสงค์ของแต่ละโปรแกรมจะแตกต่างกันก็ตาม เช่น โปรแกรม Word, Excel,  Access ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เดียวกัน จะมีส่วนต่อประสานที่คล้ายกัน
  3. ถ้ารูปแบบการโต้ตอบที่ผ่านมาทำให้ผู้ใช้เกิดความคาดหมาย อย่าเปลี่ยนกฎนั้น ยกเว้นมีเหตุผลสมควร นั้นคือ ไม่ควรเปลี่ยนลักษณะการโต้ตอบที่โปรแกรมส่วนใหญ่ เพราะผู้ใช้จะคุ้นเคยกับการโต้ตอบในลักษณะนั้น เช่น Ctrl + S เป็นการบันทึกข้อมูล ถ้าเราเปลี่ยน Ctrl + S เป็นการทำงานอย่างอื่น ผู้ใช้จะสับสนได้

 

จากบทความนำมาสรุปได้ดังนี้ การสร้างหรือออกแบบหน้าจอ ควรคำนึงถึงผู้ใช้งานโปรแกรมเป็นหลัก เนื่องจากผู้ใช้งานเป็นส่วนที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ควรออกแบบให้ใช้งานนได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก และมีความปลอดภัยสูง

 

ช่องทางการศึกษาเพิ่มเติมข่าวสารที่น่าสนใจเกี่ยวกับ : บทความทั่วไป

 

กระทู้ล่าสุดจากเว็บบอร์ด
หัวข้อกระทู้
ตอบ
เปิดดู
ล่าสุด
พิมพ์ pdf จาก excel สามารถกำหนดให้พิมพ์บนล่างก่อนแล้วค่อยไปพิมพ์ซ้ายไปขวาได้มั้ยคะ
โดย MBMoo ศ 29 มี.ค. 2024 1:34 pm บอร์ด ถาม - ตอบ คอมพิวเตอร์
3
217
ศ 29 มี.ค. 2024 1:48 pm โดย mindphp View Topic พิมพ์ pdf จาก excel สามารถกำหนดให้พิมพ์บนล่างก่อนแล้วค่อยไปพิมพ์ซ้ายไปขวาได้มั้ยคะ
เมธอด dict() ในการพัฒนาระบบ Python การสร้างพจนานุกรมอย่างมีประสิทธิภาพ
โดย athirach.offcial พฤ 28 มี.ค. 2024 12:33 pm บอร์ด Python Knowledge
0
368
พฤ 28 มี.ค. 2024 12:33 pm โดย athirach.offcial View Topic เมธอด dict() ในการพัฒนาระบบ Python การสร้างพจนานุกรมอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้งาน filter() กรองตัวเลขหรือตัวอักษรในภาษา Python
โดย athirach.offcial พฤ 28 มี.ค. 2024 12:16 pm บอร์ด Python Knowledge
0
135
พฤ 28 มี.ค. 2024 12:16 pm โดย athirach.offcial View Topic การใช้งาน filter() กรองตัวเลขหรือตัวอักษรในภาษา Python
เมธอด strip() ใน Python การใช้งานเพื่อลบตัวอักษรที่กำหนด
โดย athirach.offcial พฤ 28 มี.ค. 2024 12:03 pm บอร์ด Python Knowledge
1
401
ศ 29 มี.ค. 2024 9:24 am โดย athirach.offcial View Topic เมธอด strip() ใน Python การใช้งานเพื่อลบตัวอักษรที่กำหนด
Attribute ในภาษา Python: วิธีกำหนดค่าและใช้งาน
โดย athirach.offcial พฤ 28 มี.ค. 2024 11:37 am บอร์ด Python Knowledge
0
107
พฤ 28 มี.ค. 2024 11:37 am โดย athirach.offcial View Topic Attribute ในภาษา Python: วิธีกำหนดค่าและใช้งาน
คำสั่ง eval() ใน Python วิธีการใช้งานการประมวลผลสตริงเป็นโค้ด
โดย athirach.offcial พฤ 28 มี.ค. 2024 11:07 am บอร์ด Python Knowledge
3
659
ศ 29 มี.ค. 2024 9:18 am โดย athirach.offcial View Topic คำสั่ง eval() ใน Python วิธีการใช้งานการประมวลผลสตริงเป็นโค้ด
การใช้งานเมทอด zip() ใน Python: รวมข้อมูลจาก objects หลายๆ อันเข้าด้วยกันเป็น tuple อธิบายและตัวอย่าง
โดย athirach.offcial พฤ 28 มี.ค. 2024 10:51 am บอร์ด Python Knowledge
1
183
พฤ 28 มี.ค. 2024 8:55 pm โดย athirach.offcial View Topic การใช้งานเมทอด zip() ใน Python: รวมข้อมูลจาก objects หลายๆ อันเข้าด้วยกันเป็น tuple อธิบายและตัวอย่าง
ปิดโหมดข้อความธรรมดาในอีเมลแล้ว แต่เครื่องมือไม่ขึ้น ต้องตั้งค่ายังไง
โดย Narisara พฤ 28 มี.ค. 2024 10:46 am บอร์ด ถาม - ตอบ คอมพิวเตอร์
1
140
พฤ 28 มี.ค. 2024 11:13 am โดย Narisara View Topic ปิดโหมดข้อความธรรมดาในอีเมลแล้ว แต่เครื่องมือไม่ขึ้น ต้องตั้งค่ายังไง