Postman คืออะไร ?
Postman เป็นเครื่องมือที่ไว้ใช้สำหรับ API Developers API ย่อมาจาก Application Programming Interface ปัจจุบันมีความสำคัญมากในการนำไปใช้จัดทำ WebSite หรือ โปรแกรม ซึ่งหากให้อธิบายในความหมายง่ายๆก็คือ โดยปกติแล้วเมื่อเราเขียน API Service ขึ้นมาเรามักจะใช้ Postman ที่เป็น API Testing tool ในการส่ง Request และดู Response ที่ได้ต่างๆกลับมา และยังมีการใช้งานที่แสนจะง่ายดาย มี UI สวยงาม และสามารถใช้ได้ฟรีอีกด้วย
การติดตั้ง Postman
แน่นอนว่าอย่างที่บอกไปว่าตัว Postman เป็นโปรแกรม ไว้ใช้สำหรับ API Developers ในการส่ง Request และดู Response ที่ได้ต่างๆกลับมา และยังเป็นโปรแกรมฟรีอีกด้วย สามารถเข้าไปติดตั้งได้้ที่นี้

การใช้งาน Postman
- เปิดโปรแกรม Postman
- เลือก Method ในการเรียก Web Service ตามที่เราต้องการเลยจร้า
- กรอก URL ของ Web Service ที่ช่อง Enter request URL
- เพิ่มตัวแปรที่จะส่งไปกับ URL ของ Web Service ด้วยการกดที่ปุ่ม Params
- กด Send จากนั้นก็จะแสดงผลของการเรียก Web Service ออกมาให้เราดู
- กด Save เพื่อเก็บผลการทดสอบ เอาไว้ทดสอบใหม่คราวหน้าจะได้ไม่เสีเวลากรอกใหม่
- กด History เอาไว้ track ดู request เก่าๆ ที่ไม่ได้ save เอาไว้
- Import/Export เอาไว้สำหรับพกพา script ไปได้ทุกที่ เเค่เลือก Collection > Download Collection แค่นี้ก็แชร์ให้คนอื่นๆในทีมได้เเล้วจร้าา
เทคนิคการใช้ Postman
ฟังก์ชันทั่วไปที่คนใช้งานจะเป็นการทดสอบส่ง request เพื่อดู response ที่ได้กลับมา แต่บทความนี้จะพูดถึงฟังก์ชันอื่น ๆ ที่คนทั่วไปอาจยังไม่เคยใช้ หรือไม่เคยรู้มาก่อน เราจึงจะมาแนะนำฟังก์ชันอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อผู้ที่ใช้งาน Postman และอยากให้รู้จักกัน
1.การสร้าง Collection เพื่อแบ่งกลุ่มของ API
หาก API ที่เราใช้ทดสอบมีเยอะ การจัดแยก API เป็น Collection จะทำให้ง่ายต่อการค้นหาและทดสอบ โดยสามารถแบ่งเป็นโฟลเดอร์ย่อย ๆ ในแต่ละ collection ได้อีกด้วย
2.สร้าง Environment เก็บค่าตามแต่ละระบบที่เราทดสอบ
เมื่อเราต้องการทดสอบ API ใน environment ที่แตกต่างกัน เช่น มีการเปลี่ยน IP หรือ domain name เราสามารถทำเป็นตัวแปรให้อยู่ใน environment ต่าง ๆ เพื่อกำหนด IP หรือ domain name ที่แตกต่างกันได้ ตอนใช้งานก็เพียงกดเลือก environment ที่ต้องการ ก็จะได้ค่าที่เราตั้งเอาไว้ ทำให้ไม่ต้องมาแก้ไขเองทุกครั้งที่มีการเปลี่ยน environment
ขั้นตอนการสร้าง environment และตัวแปร
- กดเลือก Environments ที่ฝั่งซ้ายของโปรแกรม จากนั้นกดที่สัญลักษณ์รูปบวก หรือกดที่ข้อความ Create a new Environment เพื่อสร้าง environment ใหม่
- ตั้งชื่อ environment ของเรา และตั้งค่าตัวแปร โดยในตัวอย่างจะใช้ environment นี้สำหรับการพัฒนา จึงตั้งชื่อว่า Dev Environment และตั้งค่าตัวแปรชื่อ URL ไว้เก็บลิงก์ที่ใช้ในการทดสอบ API โดยในตัวอย่างจะใช้เป็น localhost:8000
- จากนั้นคุณสามารถสร้าง environment เพิ่มได้ตามที่คุณต้องการ เพื่อให้รองรับแต่ละ environment ของคุณ อย่างในตัวอย่างจะทำเป็น 3 environment สำหรับ Dev, UAT, และ Prod ซึ่งแต่ละ environment ก็จะมีลิงก์ URL ที่ต่างกัน
- การใช้งาน environment สามารถกดเปลี่ยนได้ตามต้องเลยที่ด้านบนขวาของโปรแกรม ส่วนการเรียกใช้ค่าตัวแปร จะสามารถอ้างถึงได้โดยใส่ {{variable_name}} เช่น ในตัวอย่างของเรา ชื่อตัวแปรเราคือ url วิธีเรียกใช้จึงเป็น {{url}} ตามรูปตัวอย่างด้านล่าง

3.Export to file เพื่อให้คนอื่นสามารถนำไปใช้ต่อได้
Collections และ Environments นั้น สามารถที่จะ export ออกมาเป็นไฟล์ เพื่อนำไปแชร์ให้คนอื่นต่อ หรือนำเข้า version control หรือจะ sync กับบัญชีแล้วใช้งานร่วมกับทีมได้เลย แต่จะมีจำกัดจำนวน API ที่แชร์ได้ หากต้องการมากกว่าที่กำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่ม วิธีการสามารถทำได้โดยกดที่สัญลักษณ์จุด 3 จุดที่ collection หรือ environment ที่ต้องการ และเลือก export ได้เลย
สรุป Postman เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการทดสอบระบบของ API หรือ Application Programming Interface และยังเป็นโปรแกรมฟรีอีกด้วยนอกจากทดสอบแล้วยังมีความสามารถที่เก็บค่าแต่ละระบบที่เราทดสอบและนำมาใช้ใหม่หรือจะเป็นการเซฟเก็บไว้ใช้งานตัวทดสอบนอกจากนี้ยังสามารถ Export ไฟล์ออกมาได้อีก นอกจากบทความนี้ก็ยังมีตัวโค้ดที่จะทำการสร้างโค้ดขึ้นมาให้เราเลยไม่ว่าจะเป็นภาษาไรก็ตามสะดวกสบายแบบสุดๆ สำหรับใครที่อยากเรียนรู้การเรียกใช้ API ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่นี้เลย 4 วิธีเรียกใช้ API บน JavaScript และยังมีเว็บไซต์ API ที่เปิดให้ทดสอบฟรีอีกด้วย API ฟรีสำหรับงาน Front-End Development
อ้างอิง
Postman ฉบับเริ่มต้น ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://sleepalldays.com/blog/postman-beginner
Postman Tutorial for Beginners ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.softwaretestingmaterial.com/postman-tutorial/
Postman ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://learning.postman.com/docs/getting-started/introduction/