pgadmin คือโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการระบบฐานข้อมูล PostgreSQL โดยโปรแกรมที่ใช้ PostgreSQL เป็นฐานข้อมูล เช่น php BB, Joomla, OpenERP / Odoo และ Magento ระบบปฎิบัติการที่รองรับ pgAdmin จะมีทั้ง Linux , MacOS และ windows
สอนการ create database สร้างฐานข้อมูล PostgreSQL ด้วย pgadmin สามารถทำได้ทั้งอย่างง่ายและการสร้างด้วยคำสั่ง SQL ซึ่งในส่วนของการสร้างฐานข้อมูลด้วย SQL จะมีทั้งในส่วนในการเขียนคำสั่ง SQL และผลของการแสดงผลว่าทำการสร้างฐานข้อมูลนั้นสำเร็จจะขึ้น successfully แต่ถ้าสร้างไม่สำเร็จจะขึ้นข้อความ Error และบอกในส่วนของที่ Error
สอนการ create table สร้างตารางในฐานข้อมูล PostgreSQL ด้วย pgadmin เป็นการสร้างตารางและฟิลด์ในตาราง โดยการกำหนดฟิลด์ id เป็น primary key และการกำหนดว่าฟิลด์อื่นห้ามซ้ำและห้ามมีช่องว่าง เพื่อป้องกันการได้รับข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ การกำหนดประเภท ชนิดข้อมูลและขนาดของข้อความต่างๆ
สอนการ create table with inherits การสร้างตารางด้วยการสืบทอดตารางใน postgreSQL ด้วย pgAdmin การ inherits เป็นการสืบทอด class จาก class ต้นฉบับไปยัง class ใหม่ โดยจะทำการคัดลอก หรือ copy คุณสมบัติจาก class ต้นฉบับมา class ใหม่
สอนการ create table AS การสร้างตารางจากตารางที่มีอยู่ใน postgreSQL ด้วย pgAdmin โดยการสร้างตารางแบบ AS จะเหมือนกับ การสร้างตารางแบบ inherit แต่จะแตกต่างตรงที่การสร้างตารางแบบ inherits จะเป็นการคัดลอกคอลัมน์มาทั้งตาราง แต่การสร้างตารางแบบ AS จะสามารถคัดลอกมาเพียงบางคอลัมน์ หรือคัดลอกมาทั้งหมดก็ได้
สอนการ insert ข้อมูล เพิ่มข้อมูลลงตาราง PostgreSQL ด้วย pgAdmin โดยรูปแบบการ insert ข้อมูล จะมี 4 รูปแบบ ตั้งแต่การ insert ข้อมูลทั้งหมด , การ insert ข้อมูลโดยกำหนดคอลัมน์ , การ insert ข้อมูลทีละ record และการ insert ข้อมูลโดยการดึง(คัดลอก) จากตารางอื่น
สอนการ select การเรียกดูข้อมูลใน postgreSQL ด้วย pgAdmin การ select จะพบมากเมื่อทำงานร่วมกับ postgreSQL เป็นการเรียกดูข้อมูลในตารางบนฐานข้อมูลที่เรามีอยู่ ซึ่งคำสั่งใน postgreSQL นั้นจะคล้ายกับคำสั่ง MySQL ทั่วไป การ select จะมีรูปแบบการ select ทั้งการ select ข้อมูลทั้งหมดม การ select ข้อมูลคอลัมน์จากตารางเดียว และการ select ข้อมูลบางคอลัมน์จากหลายตาราง
สอนการ select แบบ distinct การเรียกดูข้อมูลไม่ซ้ำใน postgreSQL ด้วย pgAdmin การ select แบบ distinct คือคำสั่งที่จะทำการเรียกดูข้อมูลที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้ข้อมูลที่เราต้องการดูนั้นมีจำนวนที่ลดน้อยลงและสามารถดูข้อมูลนั้นได้ง่ายมากขึ้น
สอนการใช้ Operater ตัวดำเนินการใน postgreSQL ด้วย pgAdmin การใช้ Operator หรือการใช้ตัวดำเนินการOperator หรือตัวดำเนินการ ที่ใช้ในการดำเนินการทางคณิตศาสตร์หรือการเปรียบเทียบ เป็นต้น นิยมใช้ในภาษา SQL เพื่อเป็นการกำหนดเงื่อนไขในคำสั่ง SQL และทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมเงื่อนไขหลายๆเงื่อนไขเข้าด้วยกัน โดยสามารถเรียงลำดับความสำคัญของตัวดำเนินจาก (), NOT, AND, ALL, BETWEEN, IN, LIKE, OR
สอนการใช้ Union การรวมข้อมูล select ข้อมูลจากตารางใน postgreSQL ด้วย pgAdmin Union เป็นตัวดำเนินการที่รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการ select ที่มีจำนวน 2 ชุดหรือมากกว่า ให้เป็นข้อมูลชุดเดียวกัน
สอนการใช้ cast การแปลงชนิดของข้อมูล select ข้อมูลจากตารางใน postgreSQL ด้วย pgAdmin CAST เป็นตัวดำเนินการที่ใช้ในการแปลงชนิดของข้อมูล โดยข้อมูลที่สามารถแปลงได้ เช่น integer, numeric, charater
สอนการใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ใน postgreSQL ด้วย pgAdmin สามารถใช้สูตรทางคณิตศาสตร์เข้ามาใช้งานร่วมกับการเขียน sql ใน PostgreSQL ได้เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องมากขึ้น โดยสูตรทางคณิตศาสตร์ที่สามารถใช้ได้เช่น ABS() : ใช้หาค่าสัมบูรณ์, POWER() : ใช้หาค่ายกกำลัง, ROUND() : ใช้ปัดเศษทศนิยม, CEILING() : ใช้ปัดเศษขึ้น (ปัดเศษให้เป็นเลขจำนวนเต็ม), FLOOR() : ใช้ปัดเศษลง ( ปัดเศษให้เป็นเลขจำนวนเต็ม )
สอนการใช้ case การกำหนดเงื่อนไขในการแสดงค่าใน postgreSQL ด้วย pgAdmin เป็นกำหนดเงื่อตามที่เราต้องการแสดง เช่นถ้าข้อมูลอยู่ในเงื่อนไขมีค่าน้อยกว่า 50 ให้แสดงคำว่า ราคาต่ำ ถ้าข้อมูลมีค่า มากกว่าหรือเท่ากับ 50 ให้แสดงคำว่า ราคาสูง
สอน data type ชนิดของข้อมูลใน postgreSQL ด้วย pgAdmin ข้อมูลที่อยู่ใน PostgreSQL ถูกกำหนดด้วยชนิดข้อมูล (data type) ซึ่งประเภทของชนิดข้อมูลจะมีหลายประเภท เช่น Character type, Numberic type, Date/Time type และ Logical type
สอนการใช้ inner join การเลือกข้อมูลจากหลายตารางใน postgreSQL ด้วย pgAdmin การใช้ inner join เป็นการเลือกข้อมูลจากตารางใดตารางหนึ่ง เพื่อนำข้อมูลไปรวมกับตารางอื่นที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกัน
สอนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างตาราง alter table ใน postgreSQL ด้วย pgAdmin การปรับเปลี่ยนโครงสร้างตาราง คือการใช้คำสั่ง ALTER TABLE ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างตารางเก่าที่มีอยู่แล้ว
สอนการใช้ group by หรือการรวมข้อมูลใน PostgreSQL ด้วย pgAdmin GROUP BY คือการรวมข้อมูลที่เหมือนกันให้ออกมาเหลือ row เดียว และการเปลี่ยนชิ้อคอลัมน์ให้แสดงออกมาโชว์แต่ไม่ได้เปลี่ยนชื่อคอลัมน์นั้นจริงๆ
สอนการใช้ having หรือการกำหนดเงื่อนไขของ group by ใน PostgreSQL ด้วย pgAdmin โดย HAVING จะเหมือนกัน WHERE แต่ WHERE ใช้กำหนดเงื่อนไขให้กับ SELECT แต่ HAVING ใช้กำหนดเงื่อนไขให้กับ GROUP BY