ภาษีบำรุงท้องที่ คืออะไร

การใช้งานและ แนะนำโปรแกรมเกี่ยวกับ งานบัญชี และ ERP อีอาร์พี

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

Thamonwan
PHP Full Member
PHP Full Member
โพสต์: 34
ลงทะเบียนเมื่อ: 24/05/2021 9:10 am

ภาษีบำรุงท้องที่ คืออะไร

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย Thamonwan »

ภาษีที่เราทุกคนรู้จักไม่ได้มีเพียงแค่ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอื่นๆ อีกทั้งยังมีภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีนี้เราไม่ค่อยคุ้นหูกันสักเท่าไหร่ บางคนก็อาจจะมองข้ามภาษีตัวนี้ไป เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับภาษีบำรุงท้องที่กันค่ะ

ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่
Accounting software & ERP โปรแกรมบัญชี ระบบอีอาร์พี-2.png (333.57 KiB) Viewed 461 times
ภาษีบำรุงท้องที่ หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินตามราคาปานกลางที่ดิน และตามบัญชีอัตราการเสียภาษีบำรุงท้องที่
ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ได้แก่ ที่ดินซึ่งเป็นของบุคคล หมายถึง คณะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสิทธิครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิของเอกชน พื้นที่ดินและพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย โดยไม่เป็นที่ดินที่เจ้าของที่ดินได้รับการยกเว้นภาษี หรืออยู่ในเกณฑ์ลดหย่อน

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่
ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคมของปีใด มีหน้าที่เสียภาษีบํารุงท้องที่สําหรับปีนั้น

การคิดอัตราภาษี
1. จะเสียราคาปานกลางของที่ดิน มีหลายอัตราขอทราบรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่โดยตรง
2. ที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ได้ทําประโยชน์จะต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่า ของอัตราปกติ

การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินและการชำระภาษี
1. ให้เจ้าของที่ดินและผู้ครอบครองที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท. 5) และชําระภาษี
ปีละครั้ง ตั้งแต่เดือน มกราคม - เดือน เมษายน ของทุกปี
2. ผู้ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลงให้ยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.บ.ท. 5)
ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์

การลดหย่อนและยกเว้นภาษีบํารุงท้องที่
1. ที่ดินที่เจ้าของปลูกบ้าน ปลูกที่อยู่อาศัยโดยไม่ทำการค้าหรือให้เช่าให้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 5 ไร่ แต่ไม่น้อยกว่า 3 ไร่ (ตามข้อบัญญัติตําบล) ส่วนเกินต้องเสียภาษีในอัตราที่กําหนด
2. ที่ดินซึ่งเจ้าของปลูกบ้านให้เช่าหรือปลูกบ้านทําการค้าและได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้วจะได้รับการยกเว้นภาษีบํารุงท้องที่ในส่วนที่อาคารนั้นตั้งอยู่

อัตราโทษและค่าปรับ
1. ไม่ยื่นแบบภายในกําหนดเสียเงินเพิ่มร้อยละ10 ของค่าภาษี
2. ยื่นรายการไม่ถูกต้องค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ10 ของค่าประเมินเพิ่มเติม
3. ชี้เขตแจ้งจํานวนที่ดินไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่ม 1 เท่า ของค่าภาษีประเมิน
เพิ่มเติม
4. ชําระภาษีเกินกําหนดต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของค่าภาษี เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน

การอุทธรณ์
หากเจ้าของที่ดินเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องให้ยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงาน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับประเมิน

หลังจากที่เราศึกษาภาษีบำรุงท้องที่ไปแล้วนั้น ทำให้เราได้รู้ว่าบุคคลที่ต้องเสียภาษีบำรุงที่ดิน คือ เจ้าของที่ดิน และต้องชำระภาษีบำรุงที่ดินในปีนั้น อีกทั้งยังรู้อีกว่าถ้าการประเมินที่ดินของเราไม่เป็นกลางเราสามารถยื่นอุทธรณ์ภาษีกับพนักงานได้

อ้างอิง
- https://web5072.tripod.com/pasee1.html
- http://bandai.go.th/filesAttach/doc/1541579806.pdf
- http://khuansri.go.th/product_images/320-7.%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5.pdf

อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.google.com/url?sa=i&url=http%3A%2F%2Fwww.nakae-lampang.go.th%2Fweb%2F%3Fcat%3D25%26filter_by%3Drandom_posts&psig=AOvVaw0MGbKWY7BE1GJd8y4NYsK-&ust=1622261402799000&source=images&cd=vfe&ved=0CAIQjRxqFwoTCJi6ievA6_ACFQAAAAAdAAAAABAw

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 91