กรณีใดบ้างที่กิจการสามารถลดหนี้ให้กับลูกหนี้ได้ และจะสามารถขอคืนภาษีได้หรือไม่

การใช้งานและ แนะนำโปรแกรมเกี่ยวกับ งานบัญชี และ ERP อีอาร์พี

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

ภาพประจำตัวสมาชิก
Narisara
PHP VIP Members
PHP VIP Members
โพสต์: 20420
ลงทะเบียนเมื่อ: 24/05/2021 10:04 am

กรณีใดบ้างที่กิจการสามารถลดหนี้ให้กับลูกหนี้ได้ และจะสามารถขอคืนภาษีได้หรือไม่

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย Narisara »

จากกรณีที่กิจการมีการขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าแล้วทำสัญญาการซื้อขายเป็นระยะเวลา 1 ปี มีการชำระค่าบริการในครั้งเดียวเป็นยอดเต็มจำนวน คิดภาษีขายเรียบร้อยแล้ว หากระหว่างสัญญามีการผิดข้อสัญญาหรือมีเหตุการณ์ใด ๆ ที่ลูกค้าขอคืนสินค้า กิจการจะมีวิธีการอย่างไร มาดูกัน

กรณีใดบ้างที่กิจการสามารถลดหนี้ให้กับลูกหนี้ได้
กรณีใดบ้างที่กิจการสามารถลดหนี้ให้กับลูกหนี้ได้
Accounting software & ERP โปรแกรมบัญชี ระบบอีอาร์พี-3.png (71.64 KiB) Viewed 437 times
กิจการจะสามารถลดหนี้ให้ได้หากเข้าเงื่อนไขตามคำสั่งกรมสรรากรที่ ป.80/2542 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 และใบลดหนี้ ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 2 ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

(2) มีการขายสินค้าหรือให้บริการโดยได้ออกใบกำกับภาษีซึ่งมีรายการตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

(3) ภายหลังได้ออกใบกำกับภาษีแล้วได้มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลงไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(ก) มีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากสินค้าผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน สินค้าชำรุดเสียหาย หรือขาดจำนวน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริงหรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
(ข) มีการลดราคาค่าบริการเนื่องจากให้บริการผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน บริการขาดจำนวน คำนวณราคาค่าบริการผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
(ค) ได้รับสินค้าที่ขายกลับคืนมาเนื่องจากสินค้าชำรุดบกพร่อง ไม่ตรงตามตัวอย่าง ไม่ตรงตามคำพรรณนา หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
(ง) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินชดเชยหรือเงินอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อผูกพันในกฎหมาย
(จ) ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้มีการจ่ายคืนเงินจ่ายล่วงหน้าเงินประกัน เงินมัดจำ เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทำนองเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อตกลงทางการค้า
(ฉ) มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วยกัน
(ช) มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนและผู้ซื้อสินค้า ทั้งนี้ เฉพาะที่กระทำภายในเวลาอันสมควร
(ซ) มีการบอกเลิกสัญญาบริการเนื่องจากการให้บริการบกพร่องหรือให้บริการผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน
(ฌ) มีการบอกเลิกสัญญาบริการเนื่องจากไม่มีการให้บริการตามสัญญา

การลดหนี้ให้ลูกหนี้หากเข้าเงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้นก็สามารถลดหนี้ได้ และการขอคืนภาษีที่ชำระไปแล้วก็สามารถขอคืนได้ในปีภาษีที่ทำการลดหนี้ ในส่วนของเอกสารอื่น ๆ ที่ทางกรมสรรพากรใช้พิจารณาก็จะมีแค่หลักฐานการลดหนี้ให้กับลูกค้า คือ ไปลดหนี้ หลักฐานการโอนเงินคืนให้กับลูกหนี้

อ้างอิง
- https://www.rd.go.th/3574.html
- https://www.mindphp.com/forums/viewtopic.php?f=140&t=56547
- https://mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/194-e-commerce/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/3574-output-vat-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%BA%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97-%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%97-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html?bb_limitstart=24

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 31