ความหมายของคำว่ากรรมสิทธิ์และภาระผูกพัน

ถาม - ตอบ ธุรกิจ กฏหมาย ภาษี บัญชี ปัญหา การทำงานกับ บ. อื่น หรือบุคคลอื่น หรือ ภาษีต่างๆ กรมสรรพากร

Moderator: mindphp

EyePornnipa
PHP Super Hero Member
PHP Super Hero Member
โพสต์: 681
ลงทะเบียนเมื่อ: 17/06/2019 10:21 am

ความหมายของคำว่ากรรมสิทธิ์และภาระผูกพัน

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย EyePornnipa »

กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ และภาระผูกพันในหนี้สิน

กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์(Assets)

สินทรัพย์(Assets) หมายถึง สิ่งของที่มีตัวตน และสิงของที่ไม่มีตัวตน ซึ่งมีมูลค่า โดยบุคคลหรือกิจการเป็นเจ้าของ หรือมีสิทธิครอบครอง
โดยถูกต้องตามกฎหมาย โดยสินทรัพย์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
>> สินทรัพย์หมุนเวียน เป็นสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ หรือต้องการที่จะถือไว้เกินระยะเวลา 1 ปี
>> สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เป็นสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ หรือต้องการที่จะถือไว้ไม่เกินระยะเวลา 1 ปี

สินทรัพย์ที่มีตัวตน คือ สินทรัพย์ที่มีรูปร่าง มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และสัมผัสได้ เช่น เงินสด ลูกหนี้ สินค้า ที่ดิน รถยนต์ เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น
สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน คือ สินทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง สัมผัสไม่ได้ แต่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า เป็นต้น

กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ คือ "สิทธิ" ในการเรียกร้อง ความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ ทางบัญชีสินทรัพย์จะมีดุลทางด้านเดบิต
ตัวอย่างเช่น นาย ก ไปซื้อที่ดิน ในสัญญาจะระบุว่า เมื่อมีการจ่ายชำระค่าที่ดินกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของนาย ก นั้นหมายถึงทวามเป็นเจ้าของในที่ดิน
หรือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน(สินทรัพย์)เป็นของนาย ก

ภาระผูกพันในหนี้สิน(Liabilities)

หนี้สิน(Liabilities) หมายถึง จำนวนเงินหรือภาระหนี้ที่จะต้องจ่ายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งภายในระยะเวลาในอนาคต หรือตามที่ได้ตกลงร่วมกัน
ซึ่งผลของหนี้เกิดจากการกระทำในอดีต โดยหนี้สินจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
>> หนี้สินหมุนเวียน เป็นหนี้สินที่จะครบกำหนดชำระภายในระยะเกินเวลา 1 ปี
>> หนี้สินไม่หมุนเวียน เป็นหนี้สินที่จะครบกำหนดชำระภายในระยะเวลา 1 ปี

ภาระผูกพันในหนี้สิน คือ "ภาระ" ในการจ่ายชำระหนี้สิน ทางบัญชีสินทรัพย์จะมีดุลทางด้านเครดิต
ตัวอย่างเช่น นาย ก ไปซื้อที่ดิน ในสัญญาจะระบุว่า เมื่อมีการส่งมอบกรรมสิทธิ์(ที่ดิน) จะต้องจ่ายชำระค่าที่ดินภายในระยะเวลา 1 ปี ดังนั้น นาย ก จะเกิดภาระผูกพัน ที่จะต้องจ่ายชำระหนี้สินในอนาคต

อ้างอิง
https://sites.google.com/site/nakpradittax/ray-laxeiyd-wicha/khwam-ru-beuxng-tn-keiyw-kab-kar-baychi/sinthraphy
http://119.46.166.126/self_all/selfaccess10/m4/social4_1/social/social/more1_3/page_4.php
https://cad.go.th/cadweb_client/ewt_news.php?nid=2526&filename=index

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 80