ทำความรู้จักกับ Relay Module

IOT - Internet of things
ไอโอที (IoT) หมายถึงเครือข่ายของวัตถุ อุปกรณ์ พาหนะ สิ่งปลูกสร้าง และสิ่งของอื่นๆ ที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และการเชื่อมต่อกับเครือข่าย ฝังตัวอยู่ และทำให้วัตถุเหล่านั้นสามารถเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

Patipat
PHP Super Hero Member
PHP Super Hero Member
โพสต์: 996
ลงทะเบียนเมื่อ: 10/06/2019 10:12 am

ทำความรู้จักกับ Relay Module

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย Patipat »

ทำความรู้จักกับ
[Relay module เป็น sensor ตัดไฟสามารถเขียนโปรแกรม บนโปรแกรม Arduino IDE ได้สั่งปิด-เปิดไฟ ผ่าน Smart phone ได้ Relay modul เป็น sensorที่สามารถรับไฟ 220 V ได้ สามารถต่อกับไฟบ้านได้จึงเป็นตัวที่ตัดไฟได้ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้คือ ตรวจวัดกระแสไฟฟ้าแอมเกินกำหนดได้ สมมติว่า ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นกินไฟมากเกินไป แล้วเสียบที่ปลั๊กไฟอยู่จะทำให้ปลั๊กไฟละลาย แล้วเกิดไฟฟ้ารัดวงจรได้ ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงการใช้งาน Sensor Relay Module

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
1. NodeMCU(esp8266)
[attachment=3]973202901-1.jpg[/attachment]
2. Relay Module
[attachment=2]7976740405_eb0be3a188_z.jpg[/attachment]
3. สายไฟ
[attachment=1]images.jpeg[/attachment]
4. หลอดไฟ LED
bulbs-3366573_960_720.jpg
bulbs-3366573_960_720.jpg (31.16 KiB) Viewed 1226 times
โค้ดของโปรแกรม ตั้งเวลาปิด - เปิดไฟแบบ วนลูปไปเรื่อย ๆ

โค้ด: เลือกทั้งหมด

#define D0 16
#define LED D0
void setup() 
{
  pinMode(LED,OUTPUT); // setup output
}

void loop() 
{
  digitalWrite(LED,HIGH); // Pin D0 is HIGH
  delay(250);
  digitalWrite(LED,LOW); // Pin D0 is LOW
  delay(250);
}
*HIGH ในโค้ดโปรแกรมก็คือ เปิดไฟ
*LOW ในโปรแกรมก็คือ ปิดไฟ


อธิบายโค๊ด
#define เป็นกำหนดให้ขา 16 ของ ESP8266 เป็นขา D0 บน NodeMCU และกำหนดให้ขา D0 ของ NodeMCU ต่อกับ LED ที่อยู่บนบอร์ด จึงเรียก LED แทนขา D0
ในส่วนฟังก์ชั่น setup() นั้นกำหนดให้ขา LED เป็นโหมด Digital Output
ส่วนภายในฟังก์ชั่น loop() เริ่มจากสั่งเขียนค่าลอจิก HIGH (5 V) ไปยัง ขา LED จากนั้นเวลา 250 ms แล้วสั่งให้เขียนค่าลอจิก LOW (0 V) ไปที่ขา LED และประวิงเวลาอีก 250 ms จากนั้นกลับไปยังคำสั่งแรกในฟังก์ชั่น วนลูปซ้ำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ


การต่อวงจร ไล่ตามขั้นตอน

1. nodeMCU + Relay Module
2. 5V(Vin) = VCC
3. D0 = IN1
4. GND = GND

Relay Module + หลอดไฟ LED + ปลั๊กไฟ
5. NO ต่อกับสายไฟขั้วที่1
6. C ต่อผ่านหลอดไฟ ไปยังสายไฟขั้วที่2

อ้างอิง : https://netpie.gitbooks.io/nodemcu-esp8266-on-netpie/content/lab-5.html
อ้างอิง : https://www.instructables.com/id/Interface-Relay-Module-With-NodeMCU/
อ้างอิง : https://openhomeautomation.net/control-relay-anywhere-esp8266
แนบไฟล์
973202901-1.jpg
973202901-1.jpg (117.42 KiB) Viewed 1226 times
7976740405_eb0be3a188_z.jpg
7976740405_eb0be3a188_z.jpg (84.34 KiB) Viewed 1226 times
images.jpeg
images.jpeg (1.91 KiB) Viewed 1226 times
Kor ma di kub. :)
  • Similar Topics
    ตอบกลับ
    แสดง
    โพสต์ล่าสุด

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 66