สถานการณ์โควิดกับมาตรการเยียวยานายจ้างและลูกจ้างระบบประกันสังคมตามมาตรา 33

Microsoft Office Knowledge Word, Excel, powerpoint, line , โปรแกรมเสริมต่างๆ

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

ภาพประจำตัวสมาชิก
Narisara
PHP VIP Members
PHP VIP Members
โพสต์: 20422
ลงทะเบียนเมื่อ: 24/05/2021 10:04 am

สถานการณ์โควิดกับมาตรการเยียวยานายจ้างและลูกจ้างระบบประกันสังคมตามมาตรา 33

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย Narisara »

จากสถานการณ์โควิดที่ไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดลง จากช่วงต้นปีที่คิดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นแต่พอมากลางปีกลับไม่ใช่แบบที่คิด สถานการณ์ย่ำแย่ลงกว่าเดิม สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบอย่างหนัก ขาดรายได้ แต่ต้นทุนในการทำธุรกิจและค่าใช้จ่ายกลับเพิ่มขึ้น รวมถึงพนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบด้วย แถมในตอนนี้รัฐบาลประกาศล็อคดาวน์ 10 จังหวัดพื้นที่สีแดงที่มีความเสี่ยงสูงยิ่งทำให้สถานประกอบการณณ์ได้รับผลกระทบเป็นเท่าตัว วันนี้เราจะมาดูกันว่าจะมีมาตรการใดมาเยียวยาผู้ประกอบการและพนักงาน 10 จังหวัดที่ว่ามีที่ใดบ้าง และกิจการ 9 หมวดประกอบด้วยอะไรบ้าง

ตรวจสอบสิทธิ
ตรวจสอบสิทธิ
Microsoft Office Knowledge & line & Etc-1.png (68.82 KiB) Viewed 556 times


ในช่วงที่รัฐบาลประกาศล็อคดาวน์มาตาการที่จะช่วยเยี่ยวยาผู้ประกอบการและพนักงาน คือ "มาตาการเยียวยานายจ้างและลูกจ้างระบบประกันสังคมตามมาตรา 33"

ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป อายุไม่ต่ำว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์


  • พื้นที่ที่ได้อนุมัติปรับพื้นที่สีแดงเข้ม หรือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพิ่มเติมเป็น 10 จังหวัด ดังนี้

1. กรุงเทพมหานคร
2. นครปฐม
3. นนทบุรี
4. ปทุมธานี
5. สมุทรปราการ
6. สมุทรสาคร
7. นราธิวาส
8. ปัตตานี
9. ยะลา
10. สงขลา


  • สำหรับกิจการ 9 หมวดประกอบด้วย

1. ก่อสร้าง
2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
3. ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
4. กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ
5. ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์
6. ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
7. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์
8. กิจกรรมทางวิชาการ
9. ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร


  • รูปแบบการให้ความช่วยเหลือในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33

1. นายจ้างและผู้ประกอบการ รัฐบาลยังคงจ่ายให้นายจ้างตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อหัว ต่อสถานประกอบการ สูงสุดไม่เกิน 200 คน

2. ลูกจ้าง จ่ายเพิ่มเป็น 2,500 บาทต่อคน จากที่ลูกจ้างจะได้รับตามมาตรการช่วยเหลือเดิมเพียง 2,000 บาทต่อคน ซึ่งเมื่อรวมกับจ่ายชดเชยเยียวยาร้อยละ 50 ของรายได้ให้ลูกจ้าง สูงสุดไม่เกิน7,500 บาท ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน ทำให้ผู้ประกันตน ม.33 สัญชาติไทย จะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐไม่เกิน 10,000 บาทต่อคน

เพิ่มเติม
- เพิ่มสิทธิให้ผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ที่ประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน จะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อคน สำหรับผู้ที่อยู่นอกระบบ ม.33 อาชีพอิสระ ขอให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม (ม.40) ภายในเดือน ก.ค. 64 เพื่อจะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อคน

ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ ลูกจ้างที่เคยทำงานอยู่ในสถานประกอบการ และประสงค์ที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ ต้องสมัครภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ ประชาชนทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระ ที่มีอายุ 15-60 ปีบริบูรณ์

สามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
https://www.sso.go.th/eform_news/?fbclid=IwAR124h86wJSmxubwBfCP1Xz_2AiF5eZo_ZHvPaT5jpgjJPEXSHzBnSYi6NI

จากที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นมาตรการการเยียวยาทั้งนายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในพื้นที่สีแดงที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้อง โดยวันแรกที่จะมีการโอนเงินจะเป็นวันที่ 23 กรกฎาคม นี้ โดยกระทรวงการคลังจะโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคมนี้ (พ.ศ.2564) เป็นต้นไป

อ้างอิง
- https://www.thansettakij.com/general-news/487679
- https://www.sso.go.th/eform_news/?fbclid=IwAR124h86wJSmxubwBfCP1Xz_2AiF5eZo_ZHvPaT5jpgjJPEXSHzBnSYi6NI
- https://www.thairath.co.th/news/politic/2139502

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 36