การตั้งค่า Tax ในระบบ ERP

          Tax คือ ภาษีที่ภาครัฐเรียกเก็บจากธุรกิจหรือผู้บริโภค อาจรวมอยู่ในการซื้อขาย ธุรกิจแต่ละธุรกิจสามารถผผลักภาระในการจ่ายภาษีไปให้แก่ผู้บริโภคได้ แต่ก็ไม่ก่อให้เกิดความมั่งคั่ง หรือทำให้กิจการเติบโตได้

           ภาษีมี 2 ประเภท คือ ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม จะแตกต่างกัน คือ ภาษีทางตรงจะเกิดขึ้นเมื่อธุรกิจได้จดทะเบียนการค้า และทำการซื้อขายกับผู้ที่เสียภาษี ซึ่งจะเสียภาษีอะไรบ้างนั้น ก็ขึ้นอยู่กับธุรกิจนั้นๆ เช่น ธุรกิจบริการ ขนส่ง รับเหมา โฆษณา เป็นต้น มีภาษีที่ต้องเสียคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีป้าย เป็นต้น ภาษีทางอ้อมจะเกิดเมื่อธุรกิจผลิตสินค้าหรือบริการ ภาษีตัวนี้ก็จะรวมอยู่นั้น เป็นการผลักภาระให้กับผู้บริโภค เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร เป็นต้น

          ณ ที่นี้เราจะพูดถึง ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากธุรกิจได้ทำการซื้อขายและบันทึกข้อมูลสินค้าและบริการ ซึ่งมีภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น อยู่ที่จะคิดรวมกับสินค้าหรือแยกคิดแล้วรวมไปในสินค้า เมื่อธุรกิจปิดบัญชีตัวนี้ จะแสดงให้เห็นถึงภาษีซื้อ ภาษีขายที่ธุรกิจต้องจ่าย หรือได้รับนั่นเอง

 

การตั้งค่าTax ในระบบ ERP สามารถทำได้ดังนี้

1. เข้าระบบ > Accounting > Configuration > Taxes > Taxes

ขั้นตอนการเข้าไปตั้งค่า Tax ใน Accounting

เข้าไปที่ Accounting เพื่อตั้งค่า Tax

เมื่อเข้ามายังหน้า Account ให้เข้าไปที่ taxes

ขั้นตอนในการเข้าไปสร้างหรือแก้ไข Taxes

 

2. ระบบแสดงข้อมูลของภาษีต่างๆ หากต้องการเพิ่ม กด create 

เมื่อเข้า tax สามารถกด create เพื่อสร้างภาษี

หน้าจอแสดงข้อมูลและสามารถ create ข้อมูลใหม่ได้

 

3. ระบบจะแสดงรายการต่างๆ ที่สามารถแก้ไขได้ 

หน้าจอแสดงรายละเอีดข้อมูลที่สามารถตั้งค่า Tax

 

สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้ ดังนี้

1) Tax Name : ชื่อภาษีที่ต้องการสร้างขึ้นใหม่ เช่น Input vat (แยกนอก),Output vat (รวมใน),Withholding Tax 3% (Service) เป็นต้น

2) Tax Application : ภาษีที่จะบันทึกเป็นภาษีประเภทใด เช่น Sale,Purchase,All(แบบการบันทึกทั้งSale&Purchase)

3) Tax Type : จะบันทึกภาษีเป็นแบบไหน เช่น Fix amount,Balance,Percentage เป็นต้น แต่ทั่วไปจะบันทึกเป็น Percentage กี่% เช่น 7% = 0.07000

4) Tax Included In Price : ใช้ในกรณีที่คิดภาษีรวมในสินค้า เมื่อต้องการสร้าง Input vat,Output vat แบบรวมในให้เลือกตัวนี้ แต่ถ้าเป็นการสร้าง Input Vat,Output Vat แบบแยกนอก ไม่ต้องเลือก เพราะvatจะไม่คิดรวมไปในราคาของสินค้า และไม่เกี่ยวข้องกับ Withholding Tax

5) จะใส่ข้อมูลในกรณีที่ต้องการสร้าง Withhoding Tax

    - Withholding Tax : เมื่อต้องการสร้าง Withholding Tax ให้เลือกตัวนี้ เป็นตัวตั้งค่าฐานข้อมูลของ Withholding Tax ที่เราจะสร้าง

    - Position WHT Report : ตำแหน่งที่ต้องการใส่ Withholding Tax ที่เราสร้าง ในแบบฟอร์มของหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย เช่น เป็นค่าบริการ ก็จะอยู่ในบรรทัด ที่ 6 ของแบบฟอร์มของหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย 

    - WHT Descript : เป็นคำอธิบายค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่นอกเหนือจากแบบฟอร์มที่ให้มา เช่น ค่าบริการ ค่าขนส่ง ค่าโฆษณา เป็นต้น

    - Threshold Amount : จำนวนเงินขั้นต่ำที่สามารถนำไปคิดภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้ เช่น 1 หรือ 1,000

6) Sequence : เป็นจำนวนถี่ของกาเรียกใช้งานในการ vat

7) Invoices : เป็นการเลือกบัญชี หมวดบัญชีที่จะบันทึกบัญชีที่สร้างขึ้น

    - Invoice Tax Account : การเลือกหมวดบัญชีที่บันทึกว่าภาษีซื้อ ภาษีขายอยู่ในหมวดบัญชีไหน 

    - Account Base Code : โค้ดบัญชีพื้นฐานที่เลือกว่าเป็นฐานข้อมูลของภ่าษีมูลค่าเพิ่มแสดงเป็น code  แบบ Input,Output เช่น 50_PND3_5_BASE - Personal Withholding Tax (Service),50_PND53_5_BASE - Company Withholding Tax (Service)

    - Base Code Sign : จำนวนเงินขั้นต่ำที่่ใช้ในการคิด Base Code ในที่นี้ คือ 1.0000

    - Account Tax Code : เป็นการแสดงข้อมูลโดยเลือกเป็นฐานข้อมูลของบัญชีภาษีซื้อ หรือ ภาษีขาย เช่น 50_PND53_5_TAX - Company Withholding Tax (Service),50_PND3_5_TAX - Personal Withholding Tax (Service)

    - Tax code sign : จำนวนเงินขั้นต่ำที่่ใช้ในการคิด Tax Code ในที่นี้ คือ 1.0000

8) Refunds : เป็นการเลือกบัญชี หมวดบัญชีที่จะบันทึกบัญชีที่สร้างขึ้น

    - Refunds Tax Account : การเลือกหมวดบัญชีที่สามารถทำการ Refunds ภาษีซื้อ ภาษีขายนั้นได้ จะอยู่หมวดบัญชีไหน  

    - Refund Base Code : โค้ดบัญชีพื้นฐานที่เลือกว่าเป็นฐานข้อมูลของภ่าษีมูลค่าเพิ่มแสดงเป็น code  แบบ Input,Output

    - Base Code Sign : จำนวนเงินขั้นต่ำที่่ใช้ในการคิด Base Code

    - Refund Tax Code : เป็นการแสดงข้อมูลโดยเลือกเป็นฐานข้อมูลของบัญชีภาษีซื้อ หรือ ภาษีขาย 

    - Tax code sign : จำนวนเงินขั้นต่ำที่่ใช้ในการคิด Tax Code

4. เมื่อบันทึกข้อมูลเสร็จก็กด save ได้เลย

กด Save เมื่อต้องการบันทึกข้อมูลที่แก้ไขหรือสร้างใหม่

 

 

ตัวอย่างรายการภาษีซื้อทั้งแบบแยกนอกและรวมในที่ได้สร้างและบันทึกไว้ในระบบ จะเห็นข้อแตกต่างในการบันทึกที่ Tax Included Price

รายละเอียดข้อมูลที่ใ้บันทึกตัวอย่างการบันทึก Input vat แบบแยกนอก

ตัวอย่างการบันทึกภาษีซื้อ Input vat แบบแยกนอก

รายละเอียดข้อมูลที่ใช้บันทึกภาษีซื้อแบบรวมใน

ตัวอย่างการบันทึกภาษีซื้อ Input vat แบบรวมใน

 

ตัวอย่างรายการภาษีขายทั้งแบบแยกนอกและรวมใน ที่ได้สร้างและบันทึกไว้ในระบบ จะเห็นข้อแตกต่างในการบันทึกที่ Tax Included Price

รายละเอียดข้อมูลในการบันทึกตัวอย่างการบันทึก Output vat แบบแยกนอก

ตัวอย่างการบันทึกภาษีขาย Output vat แบบแยกนอก

รายละเอียดข้อมูลที่ใช้บันทึก ตัวอย่างการบันทึก Output vat แบบรวมใน

ตัวอย่างการบันทึกภาษีขาย Output vat แบบรวมใน

 

ส่วนการบันทึกWithholding Tax คือ การสร้างภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะเป็นการสร้างในฝั่งของลูกค้าและผู้จำหน่าย ชื่อที่ใช้สร้างก็จะต่างกัน ในส่วนของลูกค้า ชื่อ Income Withholding Tax ส่วนผู้จำหน่ายื่อ Withholding Tax  ในส่วนของการบันทึกก็ต่างกัน ในการบันทึกหัก ณ ที่จ่าย ของค่าใช้จ่ายก็จะต่างกัน โดยต้องสังเกตตัว % ที่เราบันทึกด้วยว่าเท่าไร เพราะธุรกิจที่เราต้องหัก ณ ที่จ่าย มีข้อจำกัด เรื่อง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย บางธุรกิจ หัก 2% , 3% ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับธุรกิจนั้นๆ 

ชื่อการบันทึก withholding tax ของ customerและsupplier ต่างกัน คือ Income Withholding Tax และ Withholding Tax

การบันทึก Withholding Tax ของ Customer และ Supplier

การบันทึกภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของ Customer บันทึกได้เพียงแบบเดียว คือ ไม่ว่าบริษัทนั้นจะเป็นบุคคลและบริษัทก็จะชื่อเดียวกัน คือ Withholding Income Tax เพราะถือเป็นรายได้ที่เข้ามายังกิจการ


รายละเอียดการบันทึก Withholding Income Tax ของ Customer

ตัวอย่างการบันทึก Withholding Income Tax 

แต่การบันทึกภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของSupplier จะต้องทำการบันทึก 2 แบบ คือ ทั้งของบุคคลและบริษัท โดยใช้ชื่อต่างกัน คือ บุคคล = Personal Withholding Tax บริษัท = Company Withholding Tax แต่รายะเอียดอื่นๆยังเหมือนเดิม

รายละเอียดการบันทึก Personal withholding tax ของSupplier

ตัวอย่างการบันทึก Personal Withholding Tax

รายละเอียดการบันทึกข้อมูล Company Withholding Tax 2%

ตัวอย่างการบันทึก Company Withholding Tax 

 

เรามาดูความแตกต่างของผลลัพธ์ที่ได้ในการคำนวณโดย ใช้ Input Vat ,Output Vat ทั้งแบบแยกนอกและรวมใน

Input Vat แบบแยกนอก คือ การซื้อขายสินค้าที่ผู้ขายคิด vat แยกจากราคาที่ขายสินค้าจริงๆ ซึ่งราคา vat ดังกล่าว กิจการที่ซื้อจะเป็นผู้จ่ายเงินส่วนนั้น  เช่น มีการซื้อขายสินค้าราคา 800 บาท แต่มีการคิด vatแยกนอก ระบบจะคำนวณเงินที่กิจการที่ซื้อมาให้ว่ากิจการจะต้องจ่ายทั้งหมด 856 บาท

รายละเอียดการบันทึกใบ Supplier Invoice แบบ Input Vat รวมใน

ตัวอย่างใบ Supplier Invoice ที่่คำนวณภาษีแบบ Input vat แบบแยกนอก

 

Input Vat แบบรวมใน คือ การซื้อขายสินค้าที่ผู้ขายจะรวม vatในราคาสินค้าแล้ว กิจการที่ซื้อสินค้าเพียงแค่บันทึกรายการแล้วคิด vat รวม  เช่น ซื้อขายสินค้าราคา 800 บาท ซึ่งผู้ขายคิด vat รวมภายในแล้ว ฉะนั้นผู้ซื้อจะจ่ายเพียง 800 บาทเท่านั้นเนื่องจากได้รวม vat ไปในสินค้าแล้ว

รายละเอียดใบ Supplier Invoice แบบ Input Vat รวมใน

ตัวอย่างใบ Supplier Invoice ที่่คำนวณภาษีแบบ Input vat แบบรวมใน


Output Vat แบบแยกนอก คือ การขายสินค้าที่่ลูกค้าจะต้องจ่ายเงิน vat นั้นตามรายการใบแจ้ง ซึ่งจะแยกจากรายการสินค้า 

เช่น ขายสินค้าในราคา 800 บาท แต่ราคานี้ไม่รวม vat ฉะนั้นลูกค้าจะต้องจ่าย vat เพิ่มอีก 56 บาท ทำให้ลูกค้าต้องจ่ายเงินทั้งหมด 856 บาท

รายละเอียดการสร้างCustomer Invoice แบบ Output vat แยกนอก

ตัวอย่างใบ Customer Invoice ที่่คำนวณภาษีแบบ Output vat แบบแยกนอก

 

Output Vat แบบรวมใน คือ การที่ผู้ขายขายสินค้าให้กับลูกค้าในราคาที่รวม vat แล้ว ลูกค้าจะจ่ายในราคาที่ได้เสนอขาย 

เช่น ขายสินค้าราคา 800 บาท ซึ่งราคานี้ได้คิด vat รวมไปแล้ว ฉะนั้นลูกค้าจะจ่ายเงินเพียง 800 บาท

รายละเอียดการสร้างใบCustomer Invoice แบบ Output Vatรวมใน

ตัวอย่างใบ Customer Invoice ที่่คำนวณภาษีแบบ Output vat แบบรวมใน

 

            จากการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่่มีหน้าที่คิดภาษีจะต้องนำส่งภาษีซื้อ ภาษีขายที่เกิดขึ้นระหว่างการซื้อขาย เพื่อนำส่งให้กับสรรพากร สรรพากรก็จะรวบรวมภาษีทั้งหมดที่เกิดขึ้นในแต่ละปีภาษีนำส่งไปยังรัฐบาล รัฐบาลก็จะนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น สร้างถนน สะพาน สถานีรถไฟ เป็นต้น 

           การนำส่งภาษีซื้อ ภาษีขายแก่สรรพากร   หากมีภาษีซื้อ > ภาษีขาย กิจการสามารถยื่นขอคืนส่วนต่างระหว่างภาษีซื้อ ภาษีขายนั้นแก่สรรพากรได้ แต่ถ้ากิจการมีภาษีซื้อ < ภาษีขาย กิจการต้องนำส่วนต่างระหว่างภาษีซื้อ ภาษีขายที่่เหลือไปชำระแก่สรรพากร  ในการจ่ายำระหรือขอคืนภาษีแก่สรรพากร กิจการจะต้องนำส่งภายใน วันที่ 15 ของเดือนถัดไป

           การนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแก่สรรพากร  กรณีของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กิจการที่จ่ายเงินจะต้องหักไว้ก่อนจะส่งเงินให้แก่กิจจการที่รับ ซึ่งทั้งสองกิจการจะต้องเป็นบริษัทหรือนิติบุคคล ซึ่งเมื่อกิจการได้หักไว้ต้องรวบรวมเงินเหล่านั้นไว้เสียภาษีต่อสรรพากรภายใน วันที่ 7 ของเดือนถัดไป

          ในการตั้งค่า Taxes ในระบบ สามารถเข้าไปที่ระบบและแก้ไขได้ หากต้องการรู้การคำนวณให้ลองสร้างใบ invoice ทั้งของใบSupplierและCustomer เพื่อเปรียบเทียบการคำนวณ ทั้งนี้อย่าลืมสังเกตความแตกต่างของ Vat และ Withholding Tax ในการสร้างข้อมูขึ้นมาใหม่ เพราะมีความแตกต่างกัน หากใส่ข้อมูลผิด อาจทำให้การคำนวณผิดเพี้ยนไปได้

 

บทความศึกษาเพิ่มเติม

วิธีการเปิดใช้งาน Tax ของสินค้า กำหนดภาษีให้กับตัวสินค้า

Input Vat อินพุท แวท คืออะไร

Output Vat เอาพุท แวท คืออะไร

VAT 7% ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีเงินได้นิติบุคคล และเงินได้

กระทู้ล่าสุดจากเว็บบอร์ด
หัวข้อกระทู้
ตอบ
เปิดดู
ล่าสุด
อัปเดต Joomla เวอร์ชัน 5.0.2 และ 4.4.2 แก้ไขปัญหาปัญหาระบบต่าง ๆ
โดย Thanapoom1514 อ 28 ม.ค. 2024 2:37 pm บอร์ด MindPHP News & Feedback
1
621
อ 30 ม.ค. 2024 11:53 am โดย mrfurniture View Topic อัปเดต Joomla เวอร์ชัน 5.0.2 และ 4.4.2 แก้ไขปัญหาปัญหาระบบต่าง ๆ
10 คำถาม เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Q&A
โดย Best1677 พฤ 25 ม.ค. 2024 11:29 am บอร์ด ถาม - ตอบ คอมพิวเตอร์
0
869
พฤ 25 ม.ค. 2024 11:29 am โดย Best1677 View Topic 10 คำถาม เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  Q&A
หลอด T8 LED วิวัฒนาการของวงการหลอดไฟ
โดย admeadme พฤ 25 ม.ค. 2024 9:23 am บอร์ด พูดคุยเรื่องทั่วไป จับฉ่าย
0
744
พฤ 25 ม.ค. 2024 9:23 am โดย admeadme View Topic หลอด T8 LED วิวัฒนาการของวงการหลอดไฟ
ปัญหา เร้าเตอร์เน็ต ขึ้น los สีแดง
โดย Thanavat_n พ 24 ม.ค. 2024 4:28 pm บอร์ด ถาม - ตอบ คอมพิวเตอร์
1
435
พ 24 ม.ค. 2024 4:29 pm โดย Thanavat_n View Topic ปัญหา เร้าเตอร์เน็ต ขึ้น los สีแดง
ใช้โปรแกรมอะไรดีสุดครับ จะอัพโค้ด PHP ขึ้นโฮส ทำการเช่าโฮสไว้แล้ว
โดย Anonymous อ 23 ม.ค. 2024 10:46 am บอร์ด Programming - PHP
1
1541
พ 24 ม.ค. 2024 7:47 am โดย mindphp View Topic ใช้โปรแกรมอะไรดีสุดครับ จะอัพโค้ด PHP ขึ้นโฮส ทำการเช่าโฮสไว้แล้ว
ภาษา Lua ตอนที่ 9 : ตัวดำเนินการตรรกะ
โดย worramaitk พฤ 18 ม.ค. 2024 5:17 pm บอร์ด Microsoft Office Knowledge & line & Etc
0
821
พฤ 18 ม.ค. 2024 5:17 pm โดย worramaitk View Topic ภาษา Lua ตอนที่ 9 : ตัวดำเนินการตรรกะ
ภาษา Lua ตอนที่ 8 : ตัวดำเนินการ
โดย worramaitk พฤ 18 ม.ค. 2024 4:55 pm บอร์ด Microsoft Office Knowledge & line & Etc
0
568
พฤ 18 ม.ค. 2024 4:55 pm โดย worramaitk View Topic ภาษา Lua ตอนที่ 8 : ตัวดำเนินการ
ภาษา Lua ตอนที่ 7 : ชนิดข้อมูล Table (2)
โดย worramaitk พฤ 18 ม.ค. 2024 4:02 pm บอร์ด Microsoft Office Knowledge & line & Etc
0
819
พฤ 18 ม.ค. 2024 4:02 pm โดย worramaitk View Topic ภาษา Lua ตอนที่ 7 : ชนิดข้อมูล Table (2)